Page 131 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดลพบุรี
P. 131

5-7





                                               - ประยุกต์และน าใช้มาตรการสร้างแรงจูงใจทางการเงิน ทั้งจาก

                  ต่างประเทศและในประเทศ เพื่อเป็นกลไกส่งเสริมการปลูกป่า ได้แก่ กลไกเรดด์พลัส คาร์บอนป่าไม้ การ

                  ปลูกไม้มีค่า และการใช้ไม้เป็นหลักค้ าประกันทางธุรกิจ ตลอดจนระบบความร่วมมือรับผิดชอบต่อสังคม
                  (Cooperate Social Responsibility: CSR)

                                  (2) เขตคงสภาพป่านอกเขตป่าไม้ตามกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรี เป็นพื้นที่ที่อยู่

                  นอกเขตป่าตามกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรี มีสภาพเป็นป่าปลูกสมบูรณ์ เนื้อที่ 102,603 ไร่ หรือร้อยละ 2.65
                  ของเนื้อที่จังหวัด

                                    ข้อเสนอแนะการใช้พื นที่เขตคงสภาพนป่านอกเขตป่าไม้ตามกฎหมายและมติ
                  คณะรัฐมนตรี

                                         -  กันพื้นที่เป็นเขตสาธารณประโยชน์ที่ชุมชนร่วมกันดูแลรักษา และสามารถใช้

                  ผลผลิตจากป่าปลูกร่วมกัน
                                         -  ชุมชนในพื้นที่ร่วมกันจัดท าค าขอจัดตั้งป่าชุมชน ตามพระราชบัญญัติ

                  ป่าชุมชน พ.ศ. 2562 เพื่อสามารถได้รับความสนับสนุนจากรัฐบาลโดยมีกฎหมายรองรับ
                        5.2.2 เขตเกษตรกรรม เป็นพื้นที่นอกเขตที่มีการประกาศเป็นเขตป่าไม้ตามกฎหมาย โดยรัฐได้

                  ก าหนดเป็นพื้นที่ท ากินตามเอกสารสิทธิ์ ที่เกษตรกรถือครองเป็นเจ้าของโดยถูกต้องตามกฎหมาย มีสิทธิ์เข้า

                  ท าประโยชน์ในที่ดิน รวมถึง ที่ดินเอกชน พื้นที่ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ที่ดินจัดสรรตาม
                  นโยบายรัฐบาลภายใต้กรอบคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) และพื้นที่ราชพัสดุซึ่งอยู่นอกเขต

                  ป่าไม้ตามกฎหมาย โดยจังหวัดลพบุรี มีพื้นที่ที่สามารถก าหนดเป็นเขตเกษตรกรรม เนื้อที่ 2,986,771 ไร่

                  หรือร้อยละ 77.08 แบ่งความเหมาะสมของการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรตามศักยภาพและสมรรถนะได้
                  เป็น 4 เขตย่อย ได้แก่ เขตเกษตรกรรมชั้นดี เขตเกษตรกรรมที่มีศักยภาพในการผลิต เขตพัฒนาปศุสัตว์

                  และเขตพัฒนาการประมง รายละเอียดดังนี้
                            5.2.2.1 เขตเกษตรกรรมชั นดี มีเนื้อที่ 1,548,186 ไร่ หรือร้อยละ 39.95 ของเนื้อที่จังหวัด

                  เป็นพื้นที่ท าการเกษตรที่มีระบบชลประทาน บริเวณเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ดินมีศักยภาพในการผลิตปานกลาง

                  ถึงสูง แต่อาจมีข้อจ ากัดของการใช้ประโยชน์ที่ดินบางประการ ที่สามารถแก้ไขได้ด้วยระบบกล และ/หรือ
                  ระบบพืช กล่าวคือ บางพื้นที่มีแหล่งน้ าเพียงพอ อาจมีการใช้พื้นที่เพื่อการปลูกพืชผัก ไม้ดอก ไม้ประดับ

                  หรือพืชอายุสั้นหลังฤดูท านา โดยเฉพาะพืชที่มีข้อบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication: GI)
                  ที่ได้รับการรับรองโดยสหภาพยุโรป (European Union: EU) นั่นคือ “กระท้อนตะลุง” ซึ่งได้รับการขึ้น

                  ทะเบียนเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือสินค้า GI เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2559 โดยกรมทรัพย์สินทาง
   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136