Page 133 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดลพบุรี
P. 133

5-9





                                       - ปรับปรุงบ ารุงดินตามแนวทางเช่นเดียวกับการใช้พื้นที่เขตท านา เพื่อใช้ปลูก

                  พืชไร่ พืชสวนที่ใช้น้ าน้อย

                                       - เพื่อให้การใช้ประโยชน์ที่ดินเกิดประสิทธิภาพสูงสุด การพิจารณาพันธุ์พืชใน
                  เขตปลูกพืชไร่ มีแนวทางดังนี้ (1) ตามความเหมาะสมของดินในไร่นาตามสภาพท้องถิ่น หรือ (2) ตามราคา

                  ผลผลิตและความต้องการตลาด หรือ (3) ปลูกพืชหลายชนิดในพื้นที่เดียวกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ

                  ใช้ที่ดินจากการปลุกพืชชนิดเดียว อาจเลือกปลูกพืชตามฟื้นฟู
                                (3) เขตปลูกไม้ผล/พืชผัก มีเนื้อที่ 76,554 ไร่ หรือร้อยละ 1.98 ของเนื้อที่จังหวัด

                  ลักษณะพื้นที่ราบ ดินลึกปานกลาง มีความเหมาะสมในการปลูกไม้ผล หรือพืชผักต่าง ๆ ที่หลากหลาย ในรูป
                  ไม้ผลผสม ที่ส าคัญได้แก่ มะพร้าว มะม่วง กล้วย มะขาม มะละกอ ขนุน มะนาว กระท้อน พืชผัก ตลอดจน

                  ไม้ดอกและไม้ประดับต่าง ๆ โดยพบกระจายทั่วทุกอ าเภอของจังหวัด

                                  ข้อเสนอแนะการใช้พื นที่เขตปลูกไม้ผล/พืชผัก
                                       - ปรับปรุงบ ารุงดินโดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ หรือปุ๋ยเคมี ควบคู่กับ

                  การจัดท าระบบอนุรักษ์ดินและน้ า รวมทั้ง ปลูกพืชคลุมดินหรือหญ้าแฝกเพื่อรักษาความชุ่มชื้นแก่ดินและ
                  ความสมดุลของสภาพแวดล้อม ส่วนพื้นที่ลุ่มควรท าทางระบายน้ าป้องกันการท่วมขังในฤดูฝน

                                       - ส่งเสริมการท าเกษตรอินทรีย์ การผลิตพืชปลอดสารพิษ ลดการใช้สารเคมี ควรมี

                  การใช้ผลิตภัณฑ์จากเทคโนโลยีชีวภาพในการบวนการผลิต เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มมูลค่าของผลผลิต
                  เกิดผลดีทั้งต่อพืช ที่ดิน และสิ่งแวดล้อมโดยรวม

                                       - พัฒนาศักยภาพการผลิต โดยควบคุมกระบวนการผลิตไม่ผลให้ถูกต้องตามระบบ

                  การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) ทั้งด้านการจัดการดินและการใสปุ๋ย
                  ตามค่าวิเคราะห์ดิน โดยใช้โปรแกรมค าแนะน าการจัดการดินและปุ๋ย โปรแกรมดินไทยและธาตุอาหารพืช

                  รวมถึง การใช้สารเคมีในการควบคุมศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย
                                       - พัฒนาแหล่งน้ าเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต รวมทั้ง ปรับปรุงแหล่งน้ าตามธรรม

                  ชาตให้สามารถกักเก็บน้ าได้ดี เพื่อลดความเสียหายกรณีฝนทิ้งช่วง

                                       - ส่งเสริมการท าเกษตรผสมผสาน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงแก่เกษตรกรรายย่อย
                                       - จัดหาตลาดรองรับการจ าหน่ายผลผลิต ไม้ผล และพืชผักภายในพื้นที่ ซึ่งเป็น

                  ที่ตั้งของแหล่งชุมชน เพื่อส่งเสริมการบริโภคผลผลิตและสินค้าภายในท้องถิ่น
   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138