Page 139 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดราชบุรี
P. 139

5-11





                  หรืออาจมีการเสี่ยงต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ การใช้พื้นที่ท าการเกษตรจ าเป็นต้องมีการพัฒนาปรับปรุงพื้นที่

                  หรือปรับเปลี่ยนการผลิตพืชให้เหมาะสมตรงตามศักยภาพของที่ดินโดยจ าแนกเป็นกลุ่มย่อยได้ดังนี้
                                        กลุ่มนาข้าว มีเนื้อที่ 6,280 ไร่ หรือร้อยละ 0.19 ของเนื้อที่จังหวัด
                                        กลุ่มพืชไร่ มีเนื้อที่ 48,641 ไร่ หรือร้อยละ 1.50 ของเนื้อที่จังหวัด

                                            กลุ่มไม้ผล มีเนื้อที่ 27,197 ไร่ หรือร้อยละ 0.84 ของเนื้อที่จังหวัด
                                            กลุ่มไม้ยืนต้น มีเนื้อที่ 49,536 ไร่ หรือร้อยละ 1.52 ของเนื้อที่จังหวัด
                                      รูปแบบการพัฒนาและแนวทางการจัดการ
                                     - การใช้ที่ดินท าการเกษตรต้องมีการวางแผนการผลิตและการเพาะปลูกที่
                  ตอบสนองต่อสภาพพื้นที่และภูมิอากาศ และเลือกชนิดพืชให้เหมาะสมกับที่ดิน

                                            - ปรับปรุงบ ารุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยการใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ให้
                  ถูกต้องตามลักษณะดิน ในช่วงดินมีความชื้นเหมาะสมควรปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่ว เพื่อเพิ่ม
                  อินทรียวัตถุแก่ดิน
                                            - ควรปรับปรุงบ ารุงดินโดยการเพิ่มอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยพืชสด

                  เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดิน และเพิ่มธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ส าหรับพืชร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีใน
                  อัตราที่เหมาะสม
                                            - ในการใช้พื้นที่เพื่อการท านาควรมีการเพิ่มศักยภาพการผลิตด้วยการพัฒนา
                  แหล่งน้ า เช่น การสร้างบ่อน้ าในไร่นา เพื่อเก็บกักน้ าส าหรับปลูกพืชลดความเสียหายจากกรณีฝนทิ้งช่วง
                                            - ควรเพิ่มศักยภาพการผลิตด้วยการใช้เมล็ดพันธุ์/ท่อนพันธุ์ที่ดีจากแหล่งผลิตที่

                  เชื่อถือได้
                                            - ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยชีวภาพควบคู่กับการใช้ปุ๋ยเคมีในอัตราที่เหมาะสม
                  ตามค่าวิเคราะห์ดิน เพื่อเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดินทั้งยังเป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิตจากค่า

                  ปุ๋ยเคมีด้วย
                                            - ส่งเสริมการท าเกษตรแบบเกษตรผสมผสานตามแนวทางทฤษฎีใหม่ โดยการ
                  ขุดบ่อน้ าเลี้ยงปลา ยกร่องปลูกผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้นและนาข้าวร่วมกัน

                                      3.2) เขตเกษตรกรรมที่ต้องพัฒนาตามหลักวนศาสตร์ร่วมกับระบบอนุรักษ์ดิน
                  และน้่าที่เหมาะสม (สัญลักษณ์แผนที่ 232) เขตนี้มีเนื้อที่ 11,133 ไร่ หรือร้อยละ 0.34 ของเนื้อที่

                  จังหวัด พื้นที่ในเขตนี้ปัจจุบันเป็นบริเวณที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตร ในสภาพพื้นที่ที่มีความ
                  ลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ส่วนใหญ่มีการใช้พื้นที่เพื่อปลูกสับปะรดโรงงาน ยางพารา และมะม่วง
                                      รูปแบบการพัฒนาและแนวทางการจัดการ
                                      -  เจ้าหน้าที่/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชนที่ท าการเกษตรในพื้นที่ดังกล่าว

                  ควรร่วมกันพิจารณาถึงความเหมาะสม และแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณดังกล่าว เพื่อการสงวน
                  และอนุรักษ์พื้นที่ให้เป็นเขตป่าต้นน้ าล าธาร โดยการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ หรืออนุโลมให้มีการใช้
                  ประโยชน์เพื่อการเกษตรได้ ส าหรับในกรณีที่มีความจ าเป็นต้องใช้พื้นที่เพื่อการเกษตรต้องมีแนวทางการ
                  จัดการ และมาตรการในการอนุรักษ์ดินและน้ าที่เข้มข้น จริงจังและต่อเนื่องโดยไม่ควรปลูกพืชไร่หรือพืช

                  ที่ต้องมีการไถพรวนดินเพื่อเตรียมพื้นที่ในทุกรอบการปลูก เนื่องจากพื้นที่บริเวณนี้มีความลาดชันสูง
   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144