Page 141 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดราชบุรี
P. 141

5-13





                            (6)   เขตพัฒนาการประมง (สัญลักษณ์แผนที่ 26)

                                  มีเนื้อที่ 68,131 ไร่ หรือร้อยละ 2.10  ของเนื้อที่จังหวัด ปัจจุบันมีสภาพพื้นที่เป็น
                  สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ า ได้แก่ สถานที่เพาะเลี้ยงกุ้ง สถานที่เพาะเลี้ยงปลา เป็นต้น
                                  รูปแบบการพัฒนาและแนวทางการจัดการ

                                   - ต้องปฏิบัติตามนโยบายด้านการใช้พื้นที่เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ าอย่างเข้มงวด
                  เนื่องจากกิจกรรมนี้อาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ข้างเคียง
                                   - ควรก าหนดเขตการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ าให้ชัดเจนเพื่อควบคุมและป้องกันไม่ให้เกิด
                  ผลกระทบต่อระบบนิเวศ

                        5.1.3 เขตชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง

                                มีเนื้อที่ 249,257 ไร่ หรือร้อยละ 7.67 ของเนื้อที่จังหวัด ประกอบด้วยเขตชุมชนเมือง
                  ชุมชนชนบท สถานที่ราชการ สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ระบบโครงข่ายคมนาคม และสถานที่ที่เกิดจาก
                  การกิจกรรมของชุมชน (ที่ทิ้งขยะ) จ าแนกตามข้อมูลจากการส ารวจสภาพการใช้ที่ดินจังหวัดราชบุรี
                  จากการส ารวจประกอบกับภาพถ่ายทางอากาศ และค านวณเนื้อที่ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ของ

                  ส่วนวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดิน กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2562)

                        5.1.4 เขตอุตสาหกรรม
                            มีเนื้อที่ 66,267 ไร่ หรือร้อยละ 2.04 ของเนื้อที่จังหวัด ประกอบด้วยเขตพัฒนา
                  อุตสาหกรรม (สัญลักษณ์แผนที่ 41) ประกอบด้วยพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรม ลานตากและแหล่งรับ
                  ซื้อทางการเกษตร) และเขตอุตสาหกรรมเหมืองแร่/บ่อดิน (สัญลักษณ์แผนที่ 42) ประกอบด้วย

                  พื้นที่เหมืองแร่ บ่อขุด บ่อดิน บ่อลูกรัง

                        5.1.5 พื้นที่แหล่งน้่า
                                มีเนื้อที่ 71,754 ไร่ หรือร้อยละ 2.21  ของเนื้อที่จังหวัด เขตนี้ก าหนดจากแหล่งน้ าธรรมชาติ
                  (สัญลักษณ์แผนที่ 51) ได้แก่ แม่น้ า ล าคลอง หนอง บึงต่างๆ และแหล่งน้ าที่สร้างขึ้น (สัญลักษณ์แผนที่ 52)
                  ได้แก่ อ่างเก็บน้ าและบ่อน้ า แหล่งน้ าเหล่านี้ใช้ประโยชน์ทั้งทางด้านเก็บกักน้ าเพื่อการอุปโภคบริโภค

                  และใช้ในด้านเกษตรกรรม ตลอดจนเป็นแหล่งอาหารตามธรรมชาติและแหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ าของชุมชน
                                รูปแบบการพัฒนาและแนวทางการจัดการ ควรดูแลรักษาแหล่งน้ าธรรมชาติ และแหล่งน้ า
                  ที่สร้างขึ้นไม่ให้เสื่อมโทรม ทั้งด้านคุณภาพของน้ าและการกักเก็บน้ า ไม่ปล่อยให้ล าน้ าตื้นเขิน และถูกบุกรุก

                  หมั่นขุดลอกคูคลอง ไม่ทิ้งขยะหรือปล่อยน้ าเสียลงในแหล่งน้ า เร่งรัดพัฒนาแหล่งน้ าขนาดเล็ก
                  ให้กระจายอยู่ทั่วพื้นที่ เพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคและการเพาะปลูกในช่วงขาดน้ า

                        5.1.6 เขตคงสภาพป่านอกเขตป่าตามกฎหมาย
                            มีเนื้อที่ 240,641 ไร่ หรือร้อยละ 7.41 ของเนื้อที่จังหวัด พื้นที่ในเขตนี้มีสภาพเป็นป่า
                  ที่ค่อนข้างสมบูรณ์แต่อยู่นอกเขตป่าสงวนแห่งชาติ แต่ได้รับการประกาศให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินโดยจ าแนก

                  เป็นกลุ่มย่อยได้ดังนี้
                            (1)   เขตพื้นที่พัฒนาทรัพยากรป่าไม้(สัญลักษณ์แผนที่ 61) มีเนื้อที่ 133,528 ไร่ หรือ
                  ร้อยละ 4.11 ของเนื้อที่จังหวัด ปัจจุบันมีสภาพพื้นที่เป็นป่าไม้
   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146