Page 136 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดราชบุรี
P. 136

5-8





                  มีนโยบายและยุทธศาสตร์ต่างๆ เช่น ยุทธศาสตร์การปลูกพืชทดแทนพลังงาน การลงทะเบียนเกษตรกร

                  และการประกันราคาผลผลิตแล้วก็ตาม
                                            รูปแบบการพัฒนาและแนวทางการจัดการ
                                            - ยึดรูปแบบและแนวทางการพัฒนาในเขตท านา

                                            - ศึกษา วิจัยระบบการท าฟาร์ม (Farming system research) ระบบการปลูกพืช
                  หรือระบบเกษตรแบบผสมผสาน โดยน าเทคโนโลยีที่ได้ผลดีในสถานีทดลอง ไปทดสอบหาความเหมาะสม
                  ในไร่นาของเกษตรกรตามสภาพท้องถิ่น เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ที่ดินจากการปลูกพืชชนิดเดียว
                  เป็นการปลูกพืชหลายชนิดในพื้นที่เดียวกัน

                                      1.3) เขตปลูกไม้ผล/พืชผัก (สัญลักษณ์แผนที่ 213) มีเนื้อที่ 138,055 ไร่ หรือร้อยละ
                  4.25 ของเนื้อที่จังหวัด สภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ ดินลึกปานกลางถึงลึก มีความเหมาะสม

                  ของที่ดินในการปลูกไม้ผล หรือพืชผักต่างๆ ปัจจุบันมีการปลูกไม้ผลผสม เช่น มะม่วง มะพร้าว และกล้วย
                  เป็นต้น
                                            รูปแบบการพัฒนาและแนวทางการจัดการ
                                            - พื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูกไม้ผล และพืชผักต่างๆ ควรจัดหาตลาดรองรับ เพื่อ
                  จ าหน่ายในตลาดส าหรับบริโภคภายในพื้นที่ เนื่องจากเป็นที่ตั้งของแหล่งชุมชน โดยแนวทางการจัดการด้าน

                  การผลิตไม้ผล ควรใช้แนวทางของเกษตรอินทรีย์ เพื่อลดการใช้สารเคมี โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และ
                  ผลิตภัณฑ์จากเทคโนโลยีชีวภาพ มีการจัดสร้างแหล่งกักเก็บน้ าในไร่นาเพื่อลดความเสี่ยงจากภาวะแล้ง
                  อันจะกระทบต่อปริมาณผลผลิต
                                            - ควรมีระบบอนุรักษ์ดินและน้ า เพื่อช่วยเก็บกักความชื้นและรักษาสภาพแวดล้อม
                  ให้มีความสมดุลมีการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในกระบวนการผลิต เพื่อให้เกิดผลดีต่อพืช ที่ดินและ

                  สิ่งแวดล้อมโดยรวม
                                            - ส่งเสริมการท าการเกษตรแบบผสมผสานเพื่อลดความเสี่ยงของเกษตรกรรายย่อย
                  บางบริเวณพื้นที่ค่อนข้างลุ่มควรท าทางระบายน้ าไม่ให้ท่วมขังในฤดูฝน

                                      1.4) เขตปลูกไม้ยืนต้น (สัญลักษณ์แผนที่ 214) มีเนื้อที่ 7,352 ไร่ หรือร้อยละ 0.23
                  ของเนื้อที่จังหวัด โดยเขตนี้มีพื้นที่ซ้อนทับกับพื้นที่ราชพัสดุประมาณ 1,392 ไร่ สภาพพื้นที่ราบเรียบถึง
                  ค่อนข้างราบเรียบ ดินร่วนปนทรายถึงร่วนเหนียวปนทรายแป้ง ความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ าถึงต่ า ปัจจุบันมี

                  การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการปลูกไม้ยืนต้น เช่น ปาล์มน้ ามัน ยางพารา และสนประดิพัทธ์
                                            รูปแบบการพัฒนาและแนวทางการจัดการ
                                            - ปรับปรุงบ ารุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยการใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ให้
                  ถูกต้องตามลักษณะดิน ในช่วงดินมีความชื้นเหมาะสมควรปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่ว เพื่อเพิ่ม
                  อินทรียวัตถุแก่ดิน
                                            - จัดสร้างแหล่งน้ าในไร่นาเพื่อลดความเสี่ยงจากภาวะแล้งอันจะกระทบต่อ

                  ปริมาณผลผลิต

                            (2)   เขตพื้นที่เกษตรกรรมมีศักยภาพในการผลิตสูง
                                  เป็นเขตอาศัยน้ าฝนอยู่นอกเขตชลประทาน ศักยภาพทางการเกษตรปานกลาง มี
                  ความเหมาะสมปานกลางถึงสูงส าหรับการท านา ปลูกพืชไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้น แต่อาจมีข้อจ ากัดของการใช้
   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141