Page 104 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดราชบุรี
P. 104

3-18





                        3.3.2 การชะล้างพังทลายของดิน

                                  จากผลการประเมินการชะล้างพังทลายของดินของกรมพัฒนาที่ดิน (2563) โดยใช้สมการ
                  การสูญเสียดินสากล (Universal Soil Loss Equation : USLE) ซึ่งจัดชั้นความรุนแรงของการสูญเสียดิน
                  เป็น 5 ระดับ พบว่า จังหวัดราชบุรีมีระดับความรุนแรงของการสูญเสียดิน ดังนี้ (ตารางที่ 3-9 และรูปที่ 3-7)

                                  1) การสูญเสียดินน้อย มีเนื้อที่ 2,807,665 ไร่ หรือร้อยละ 86.45 มีอัตราการสูญเสียดิน
                  0-2 ตันต่อไร่ต่อปี ส่วนใหญ่มีสภาพเป็นป่าสมบูรณ์และพื้นที่เกษตรกรรมที่ปลูกพืชไร่ เช่น อ้อย สับปะรด
                  ในสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ ความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์ นาข้าว มะพร้าว และไม้ผล
                  ผสม ที่ยกร่องปลูกในพื้นที่ลุ่ม พื้นที่นี้ไม่จ าเป็นต้องมีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าแบบเข้มข้น แต่ควร
                  ป้องกันการบุกรุกท าลายพื้นที่ป่า รักษาสภาพป่าไม้ให้มีความสมบูรณ์ และปรับปรุงบ ารุงดินโดยใช้

                  อินทรียวัตถุเพื่อป้องกันความเสื่อมโทรมของดินที่เกิดจากการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม
                                  2) การสูญเสียดินปานกลาง มีเนื้อที่ 281,887 ไร่ หรือร้อยละ 8.68 มีอัตราการสูญเสียดิน
                  2-5 ตันต่อไร่ต่อปี ส่วนใหญ่มีสภาพเป็นป่าสมบูรณ์ และพื้นที่เกษตรกรรมที่ปลูกพืชไร่ เช่น อ้อย สับปะรด                                           3-16

                  ในสภาพพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย ความลาดชัน 2-5 เปอร์เซ็นต์ และไม้ยืนต้น เช่น ยูคาลิปตัส ยางพารา
                  ที่ปลูกในสภาพพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาด ความลาดชัน 5-12 เปอร์เซ็นต์ ควรใช้มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า
                  ที่เหมาะสม เช่น ปลูกพืชตามแนวระดับ การพืชคลุมดินพวกพืชตระกูลถั่ว หรือปลูกแถบหญ้าแฝก เป็นต้น
                  เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายและรักษาความชุ่มชื้นของดิน

                                  3) การสูญเสียดินรุนแรง มีเนื้อที่ 125,860 ไร่ หรือร้อยละ 3.87 มีอัตราการสูญเสียดิน 5-15
                  ตันต่อไร่ต่อปี ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่ปลูกพืชไร่ เช่น สับปะรด มันส าปะหลัง ที่ปลูกในสภาพพื้นที่
                  ลูกคลื่นลอนลาด ความลาดชัน 5-12 เปอร์เซ็นต์ ต้องมีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าที่เหมาะสม โดยใช้
                  มาตรการวิธีกลและวิธีพืชร่วมกัน เช่น การท าคันดินเบนน้ า ร่วมกับการปลูกพืชคลุมดิน การปลูกหญ้าแฝก

                  ตามแนวคันดิน เป็นต้น เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน
                                  4) การสูญเสียดินรุนแรงมาก มีเนื้อที่ 8,417 ไร่ หรือร้อยละ 0.26 มีอัตราการสูญเสียดิน
                  15-20 ตันต่อไร่ต่อปี ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่ปลูกสับปะรด ไร่ร้าง ในสภาพพื้นที่ลูกคลื่นลอน
                  ชัน ความลาดชัน12-20 เปอร์เซ็นต์ ถึงเนินเขา ความลาดชัน 20-35 เปอร์เซ็นต์ ต้องเร่งจัดท ามาตรการ

                  อนุรักษ์ดินและน้ าแบบเข้มข้น โดยใช้มาตรการวิธีกลและวิธีพืชร่วมกัน เช่น คูรับน้ ารอบเขา ร่วมกับการ
                  ปลูกพืชคลุมดินการปลูกแถบหญ้าแฝกบนคันคู ท าทางระบายน้ า และบ่อดักตะกอน เป็นต้น เพื่อป้องกัน
                  การชะล้างพังทลายของดิน

                                  5) การสูญเสียดินรุนแรงมากที่สุด มีเนื้อที่ 23,960 ไร่ หรือร้อยละ 0.74 มีอัตราการสูญเสียดิน
                  มากกว่า 20 ตันต่อไร่ต่อปี ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่ปลูกไร่ร้างและพืชไร่ในพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน
                  ความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งไม่เหมาะสมส าหรับการท าการเกษตร ควรฟื้นฟูพื้นที่ด้วยการปลูกป่า
                  3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง หรือระบบวนเกษตร หรือฟื้นฟูให้มีสภาพเป็นป่าไม้ที่สมบูรณ์ เพื่อเป็นต้นน้ า
                  ล าธาร
   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109