Page 101 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดราชบุรี
P. 101

3-15





                  แบ่งได้เป็นดินตื้นถึงก้อนหิน หรือเศษหิน มีเนื้อที่ 297,153 ไร่ หรือร้อยละ 9.17 ดินตื้นถึงชั้นมาร์ล หรือก้อน

                  ปูนมีเนื้อที่ 59,019  ไร่ หรือร้อยละ 1.83 ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืช การไถพรวน
                  ความสามารถในการดูดซับหรือการซึมของน้ าลงในดินต่ า และอินทรียวัตถุมีน้อย ท าให้การเกาะยึดตัว
                  ของเม็ดดินไม่ดี เกิดน้ าไหล่บ่า การชะล้างพังทลายของดินและแร่ธาตุได้ง่าย รองลงมาเป็นดินทรายจัด

                  มีเนื้อที่ 213,060 ไร่ หรือร้อยละ 6.56 เป็นดินที่เนื้อดินมีปริมาณอนุภาคขนาดทรายเป็นส่วนประกอบอยู่สูง
                  ท าให้ความสามารถในการอุ้มน้ า การดูดซับและแลกเปลี่ยนธาตุอาหารพืชต่ า ท าให้มีปัญหาความอุดมสมบูรณ์
                  ของดินต่ าไปด้วย เมื่อฝนตกหนักจะเกิดการชะล้างพังทลายของดินและธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช
                  ได้ง่าย และเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ าหรือความชื้นในกรณีฝนทิ้งช่วง ท าให้พืชที่ปลูกมีการเจริญเติบโตไม่ดี
                  หรืออาจตายได้ รองลงมาเป็นดินเปรี้ยวจัด มีเนื้อที่ 68,238  ไร่ หรือร้อยละ 2.10 ที่พบชั้นดินกรด

                  ก ามะถัน ชั้นสารจาโรไซต์ ในความลึก 100-150 เซนติเมตรจากผิวดิน ดินมีเป็นกรดจัดมากมีความเป็นพิษ
                  ของอะลูมินัม เหล็ก แมงกานีส ซัลไฟด์ ขาดแคลนธาตุอาหารไนโตรเจนและฟอสฟอรัส โครงสร้างดิน
                  แน่นทึบ เมื่อดินแห้งจะแข็งและแตกระแหง ท าให้ไถพรวนยาก                                                                                        3-15

                                      นอกจากปัญหาดินตื้นที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติแล้ว ยังมีปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน
                  ที่เกิดจากการใช้ที่ดินแบบเข้มข้น เกษตรกรมุ่งเน้นการใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตเป็นส าคัญ ใช้ปุ๋ยเคมีที่
                  ไม่สอดคล้องกับปริมาณธาตุอาหารพืชที่มีอยู่ในดิน ฉีดพ่นสารเคมีในการก าจัดวัชพืชปราบศัตรูพืชทั้งโรค
                  และแมลง ขาดการปรับปรุงบ ารุงดินและการจัดท าระบบอนุรักษ์ดินและน้ าที่ถูกต้องเหมาะสมในการท า

                  เกษตรกรรม เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวควรก าหนดมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า การปรับปรุงบ ารุงดินเพื่อให้
                  สามารถใช้ประโยชน์ทรัพยากรดินเพื่อการเกษตรกรรมได้ยั่งยืนต่อไป


                  ตารางที่ 3-8   ทรัพยากรดินที่มีปัญหาทางการเกษตรในพื้นที่จังหวัดราชบุรี

                                                                                เนื้อที่
                               สถานภาพทรัพยากรดิน
                                                                        ไร่                ร้อยละ

                   ดินที่มีปัญหาทางการเกษตร                               637,470          19.66
                     ดินเปรี้ยวจัด                                         68,238            2.10
                      ดินทรายจัด                                          213,060            6.56

                      ดินตื้นถึงก้อนหิน หรือเศษหิน                        297,153            9.17

                      ดินตื้นถึงชั้นมาร์ล หรือก้อนปูน                      59,019            1.83
                     ดินที่ไม่มีปัญหาทางการเกษตร                       1,227,437           37.76

                   พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน                               1,029,446           31.70

                   พื้นที่น้้า                                             71,114           2.19

                   พื้นที่เบ็ดเตล็ด                                       282,322           8.69
                                    รวมเนื้อที่                        3,247,789          100.00

                  ที่มา : ดัดแปลงจากกองส ารวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2561)
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106