Page 100 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดราชบุรี
P. 100

3-14





                  ชั้นลูกรัง ก้อนกรวด เศษหิน หรือชั้นปูนมาร์ลตั้งแต่ภายในความลึก 50 เซนติเมตร หรือเนื้อดินเป็นดินทราย

                  ลึกจัด ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นด่างปานกลาง ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ าถึงสูง โดยจ าแนกตาม
                  ลักษณะของเนื้อดินและสมบัติบางประการที่เด่นชัด ได้เป็น 8 กลุ่ม ดังนี้
                                            - กลุ่มดินเหนียว มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนดินเหนียว ดินล่างเป็นดินเหนียว ได้แก่

                  ชุดดินลพบุรี (Lb) และชุดดินปากช่อง (Pc)
                                            - กลุ่มดินริมแม่น้ าหรือตะกอนน้ าพารูปพัด มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทรายแป้ง
                  หรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง ดินล่างเป็นดินทรายปนดินร่วน ดินร่วนปนทราย ดินร่วนปนทรายแป้ง
                  หรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง ได้แก่ ชุดดินก าแพงแสน (Ks) และชุดดินท่าม่วง (Tm)
                                            - กลุ่มดินร่วนละเอียด มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ดินล่างเป็นดินร่วนเหนียว

                  ปนทราย ได้แก่ ชุดดินปราณบุรี (Pr)
                                            - กลุ่มดินร่วนหยาบ มีเนื้อดินบนเป็นดินทรายปนดินร่วน หรือดินร่วนปนทราย
                  ดินล่างเป็นดินร่วนปนทราย ดินร่วน ได้แก่ ชุดดินหุบกะพง (Hg) ชุดดินเขาหลวง (Khl) ชุดดินเขาพลอง (Kpg)                                           3-14

                  ชุดดินลานสัก (Lsk) และดินตะกอนน้ าพาเชิงซ้อนมีการระบายน้ าดี (AC-wd)
                                            - กลุ่มดินทราย มีเนื้อดินบนเป็นดินทรายปนดินร่วน หรือดินร่วนปนทราย ดินล่างเป็น
                  ดินทรายปนดินร่วน ได้แก่ ชุดดินหัวหิน (Hh) ชุดดินจอมบึง (Cbg) และชุดดินจันทึก (Cu)
                                            - กลุ่มดินลึกปานกลาง มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ดินร่วน ดินร่วนปนดินเหนียว

                  ดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย หรือดินร่วนเหนียวปนทรายปนก้อนรวด มีก้อนกรวดปะปนอยู่มากกว่า
                  ร้อยละ 35 ภายในความลึก 50-100 เซนติเมตรจากผิวดิน ได้แก่ ชุดดินบ้านไร่ (Bar) และชุดดินลาดหญ้า (Ly)
                                            - กลุ่มดินตื้น มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ดินร่วนปนดินเหนียว ดินร่วนปนทราย
                  ปนกรวด ดินร่วนปนดินเหนียวปนกรวด มีลูกรัง ก้อนกรวด หรือเศษหินปะปนอยู่มากกว่าร้อยละ 35 ภายใน

                  ความลึก 50 เซนติเมตรจากผิวดิน ได้แก่ ชุดดินแม่ริม (Mr) ชุดดินทับเสลา (Tas) และชุดดินท่ายาง (Ty)
                                            - กลุ่มดินที่พบชั้นมาร์ล เป็นดินตื้นถึงลึกปานกลาง มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วน ดินร่วน
                  ปนดินเหนียว ดินร่วนปนทรายปนกรวด ดินร่วนปนดินเหนียวปนกรวด พบชั้นปูนมาร์ลภายในความลึก
                  100 เซนติเมตรจากผิวดิน ได้แก่ ชุดดินตาคลี (Tk)

                                      (3)   พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน ได้แก่ บริเวณที่เป็นเทือกเขา หรือภูเขาที่มีลักษณะความสูง
                  ชันสลับซับซ้อนมาก และโดยเฉลี่ยความลาดชันของภูมิประเทศส่วนใหญ่จะมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป
                                      (4)   พื้นที่เบ็ดเตล็ด ได้แก่ พื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่น้ า พื้นที่เขตทหาร และบ่อขุด

                                  2) ทรัพยากรดินมีปัญหาทางการเกษตร
                                      ทรัพยากรดินมีปัญหาทางการเกษตร สามารถจ าแนกตามสาเหตุของการเกิดได้เป็น 2 ประเภท
                  คือ ดินปัญหาที่เกิดตามสภาพธรรมชาติ และดินปัญหาที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยดินปัญหาที่

                  เกิดตามสภาพธรรมชาติ ได้แก่ ดินอินทรีย์ ดินเค็ม ดินเปรี้ยวจัด ดินทรายจัดและดินตื้น ส าหรับดินปัญหา
                  ที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ที่ดิน ตัวอย่างเช่น ดินดาน ดินปนเปื้อน ดินเหมืองแร่ร้าง และดินในพื้นที่นากุ้งร้าง
                  นอกจากนี้ยังรวมถึงดินที่มีปัญหาเล็กน้อยที่เป็นข้อจากัดทางการเกษตร เช่น ดินกรด และดินที่มีความ
                  อุดมสมบูรณ์ต่ า เป็นต้น (กรมพัฒนาที่ดิน, 2561)

                                      จากการวิเคราะห์ทรัพยากรดินของจังหวัดราชบุรี พบปัญหาทรัพยากรดินที่เกิดขึ้นตาม
                  ธรรมชาติ (ตารางที่ 3-8 และรูปที่ 3-6) ส่วนใหญ่เป็นปัญหาดินตื้น มีเนื้อที่ 356,172 ไร่ หรือร้อยละ 11.00
   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105