Page 92 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดระนอง
P. 92

4-12





                  สังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา-เศรษฐกิจพอเพียง, นโยบายรัฐบาล-

                  โครงสร้างพื้นฐาน/การปรับโครงสร้างการผลิตภาคการเกษตร/ทรัพยากรธรรมชาติ, การส่งเสริม
                  การเกษตรแบบแปลงใหญ่, ศพก., เกษตรกรรมยั่งยืน, ความมั่นคงด้านอาหาร (มาตรฐานสินค้าเกษตร),
                  Smart Farmer, Smart Officer, Zoning ฯลฯ

                                3) การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ส่งผลให้ผู้ประกอบธุรกิจการผลิตสินค้า
                  เกษตรต้องมีการปรับตัวให้มีการพัฒนาขีดความสามารถที่สูงขึ้น โดยเฉพาะมาตรฐานการผลิต
                  ความเข้าใจในกฎหมาย/กติการะหว่างประเทศ และทักษะด้านภาษาต่างประเทศ
                                4) การก าหนด และให้การรับรองมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตร ตามระบบ Good
                  Agricultural Practice: GAP, Good Manufacturing Practice: GMP และ Hazard Analysis Critical

                  Control Point: HACCP เป็นต้น เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
                                5) กระแสนิยมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ท าให้มีโอกาสส่งเสริม และพัฒนาแหล่ง
                  ผลิต/ผลผลิตด้านการเกษตร ให้เป็นแหล่งวัตถุดิบรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

                                6) มีโอกาสสร้างความเชื่อมโยงสินค้าเกษตรในกรอบของอาหารฮาลาล จากกรอบ
                  ความร่วมมือ IMT-GT (อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย)
                                7) มีโอกาสส่งเสริมการตลาดยางพารา จากกรอบความร่วมมือ BIMSTEC ที่ได้เปรียบ
                  ด้านระยะทาง และระยะเวลาในการขนส่ง

                                8) จังหวัดได้รับโอกาส สามารถยกระดับการผลิต และสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทาง
                  การเกษตรได้จากการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (Southern Economic Corridor : SEC)
                  เชื่อมโยง 4 จังหวัด ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ส่งผลให้เกิดการพัฒนาในหลาย
                  โครงการ เช่น การก่อสร้างรถไฟ ชุมพร-ระนอง ท่าเรือน้ าลึก สนามบิน และเมืองระนอง เป็น Smart

                  city

                          2.2   อุปสรรค (Threat: T)
                                1) ภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาค และในประเทศชะลอตัว ส่งผลกระทบต่อราคาผลผลิต
                  ทางการเกษตร (โดยเฉพาะยางพารา, ปาล์มน้ ามัน)

                                2)  แรงงานต่างด้าวย้ายออกจากภาคเกษตรไปในภาคการผลิตอื่น เช่น ภาคอุตสาหกรรม
                  และภาคบริการที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า หรือย้ายไปประเทศอื่นในกลุ่มอาเซียนที่มีค่าแรงสูงกว่า
                                3)  การเปิดตลาดเสรีการค้าและบริการของประเทศสมาชิกอาเซียนท าให้เกิดการ
                  แข่งขันและแย่งตลาดกันเอง รวมทั้งกฎ กติกาการกีดกันทางการค้า (มาตรการที่มิใช่ภาษี) และมาตรการ
                  ด้านสิทธิมนุษย์ชน ท าให้สูญเสียความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก

                                4) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก (ภาวะโลกร้อน) ส่งผลให้เกิดความผันผวนของ
                  สภาพอากาศ และฤดูกาล ท าให้ผลิตผลด้านการเกษตรได้รับผลกระทบทั้งเชิงปริมาณ และคุณภาพ
                  (พืช ปศุสัตว์ ประมง)

                                5) กฎหมาย/ระเบียบ ของภาครัฐที่เกี่ยวเนื่องกับการควบคุมเขตพื้นที่เชิงอนุรักษ์
                  ทรัพยากรธรรมชาติ ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ ท าให้การขับเคลื่อนโครงการบางโครงการไม่
                  สามารถด าเนินการได้ เช่น การพัฒนาเส้นทางคมนาคม การเข้าถึงแหล่งเงินทุน การขอรับการรับรอง
                  มาตรฐานสินค้าเกษตร
   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97