Page 39 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดระนอง
P. 39

2-23






                                              จากรูปที่ 2-7 คาดว่าในปี 2561 ตลาดรับซื้อผลผลิตยางพาราภายใน

                  จังหวัดจะมีความต้องการประมาณ 63,589 ตันเนื้อยางแห้ง โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปี 2560
                  ประมาณร้อยละ 1.6 เนื่องจากภาครัฐส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ยางภายในประเทศมากขึ้น แต่ถ้าหาก

                  เทียบกับสถานการณ์ด้านการผลิตภายในจังหวัดที่ยังมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน ยังส่งผลให้จังหวัด
                  ระนองมีปริมาณวัตถุดิบยางพาราเพียงพอส าหรับป้อนโรงงาน โดยมีอุปทาน หรือผลผลิตส่วนเกิน

                  ประมาณ 3,952 ตันต่อปี แต่อาจมีบางช่วงขาดแคลนโดยเฉพาะฤดูกาลปิดกรีดในเดือนพฤษภาคม
                  และช่วงเดือนกรกฎาคมเนื่องจากมีฝนตกชุก เกษตรกรไม่สามารถกรีดยางได้ตามปกติ ท าให้มีการ

                  แข่งขันกันด้านการรับซื้อวัตถุดิบภายในจังหวัด

                                         (3)   การปรับเปลี่ยนการผลิตสินค้ายางพารา
                                              (3.1) การปลูกพืชทดแทนยางพาราในเขตพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3,N)
                                                   (3.1.1) ปาล์มน้ ามัน มีผลตอบแทนสุทธิของการปลูกปาล์ม
                  น้ ามัน ในพื้นที่เหมาะสมจ านวน 10,500.1 บาทต่อไร่ สูงกว่าผลตอบแทนสุทธิในการปลูกยางพาราใน
                  พื้นที่ไม่เหมาะสม เท่ากับ 10,574.1 บาทต่อไร่ (ผลตอบแทนสุทธิของยางพาราในพื้นที่ไม่เหมาะสม
                  -74.0 บาทต่อไร่) เนื่องจากโรงงานสกัดน้ ามันปาล์มในจังหวัดทั้ง 3 โรง หยุดกิจการจึงต้องน าผลผลิตไป

                  ขายยังโรงงานในจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ จังหวัดพังงา และชุมพร พื้นที่ไม่เหมาะสมในการปลูกยางพารา
                  ของจังหวัดระนองมีจ านวน 117,751.7 ไร่ ในจ านวนนี้เป็นพื้นที่เหมาะสมปลูกปาล์มน้ ามัน จ านวน
                  18,525.1 ไร่
                                                   (3.1.2) กาแฟ มีผลตอบแทนสุทธิของการปลูกกาแฟ ในพื้นที่
                  เหมาะสมมีผลตอบแทนสุทธิ 4,203.8 บาทต่อไร่ สูงกว่าผลตอบแทนสุทธิในการปลูกยางพาราในพื้นที่
                  ไม่เหมาะสมเท่ากับ 4,277.8 บาทต่อไร่ (ผลตอบแทนสุทธิของยางพาราในพื้นที่ไม่เหมาะสม -74.0 บาท
                  ต่อไร่) ด้านการผลิตมีปริมาณผลผลิตเกินความต้องการใช้ในจังหวัดอยู่ 81.5% จึงต้องส่งผลผลิตออกไป

                  ขายยังจังหวัดใกล้เคียงได้แก่จังหวัดชุมพร พื้นที่ไม่เหมาะสมในการปลูกยางพาราของจังหวัดระนอง
                  มีจ านวน 117,751.7 ไร่ ในจ านวนนี้เป็นพื้นที่เหมาะสมปลูกกาแฟ จ านวน 8,294.8 ไร่
                                                   (3.1.3) ทุเรียน ผลตอบแทนสุทธิของการปลูกทุเรียน ในพื้นที่
                  เหมาะสมมีผลตอบแทนสุทธิ 75,629.5 บาทต่อไร่ สูงกว่าผลตอบแทนสุทธิในการปลูกยางพาราในพื้นที่
                  ไม่เหมาะสมเท่ากับ 75,703.5 บาทต่อไร่ (ผลตอบแทนสุทธิของยางพาราในพื้นที่ไม่เหมาะสม -74.0
                  บาทต่อไร่) ผลผลิตทุเรียนใช้บริโภคภายในจังหวัดร้อยละ 10 ส่งไปขายต่างจังหวัดร้อยละ 80 และ
                  ที่เหลือร้อยละ 10 ส่งไปขายยังประเทศเพื่อนบ้าน จังหวัดระนองมีพื้นที่ไม่เหมาะสมในการปลูกยางพารา

                  117,751.7 ไร่ ในจ านวนนี้เป็นพื้นที่เหมาะสมปลูกทุเรียน จ านวน 4,119.8 ไร่
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44