Page 35 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดระนอง
P. 35

2-19







                   120,000

                   100,000
                    80,000

                    60,000

                    40,000
                    20,000

                         0
                          2551    2552   2553    2554    2555   2556    2557    2558   2559    2560

                                            ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ณ ราคาประจ าปี (ล้านบาท)
                                            ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัว (บาท/คน/ปี)

                                            ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดปริมาณลูกโซ่ (ล้านบาท)

                  รูปที่ 2-4 ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดระนอง ปี 2551–2560
                  ที่มา: ดัดแปลงจากส านักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 (2562)

                           1.4  พืชเศรษฐกิจส าคัญในจังหวัดระนอง

                               1)  พืชเศรษฐกิจส าคัญ 4 ล าดับ
                                   จากรายงานการวิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจการเกษตรจังหวัดระนอง ปี 2562 ของ
                  ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 พบว่า การวิเคราะห์สินค้าเกษตรที่ส าคัญสูงสุด 4 ล าดับแรก ได้แก่
                  ยางพารา ปาล์มน้ ามัน กาแฟ และทุเรียน โดยศึกษาวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต ผลตอบแทนเปรียบเทียบ

                  การผลิตในพื้นที่เหมาะสมมาก (S1) และเหมาะสมปานกลาง (S2) กับพื้นที่เหมาะสมน้อย (S3) และพื้นที่
                  ไม่เหมาะสม (N) และศึกษาวิเคราะห์ อุปสงค์ (Demand) อุปทาน (Supply) วิถีการตลาด สามารถสรุป
                  ได้ดังนี้

                                   1.1)  ยางพารา
                                         (1)  สถานการณ์การผลิตและการตลาด

                                              เนื้อที่ยืนต้นในปี 2560 ประมาณ 0.31 ล้านไร่ มีเนื้อที่กรีดได้
                  ประมาณ 0.27 ล้านไร่ ให้ผลผลิตประมาณ 0.69 แสนตัน โดยมีผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 252 กิโลกรัม ซึ่งสูง
                  กว่าค่าเฉลี่ยของประเทศที่มีผลผลิตเฉลี่ย 234 กิโลกรัมต่อไร่ เนื่องจากปัจจุบันมีการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ให้

                  ผลผลิต และจากการที่ก่อนหน้านี้เกษตรกรโค่นยางแก่ปลูกทดแทนด้วยยางพันธุ์ดี ท าให้ผลผลิตต่อไร่
                  เพิ่มขึ้น โดยจังหวัดระนองมีพื้นที่เขตเหมาะสมส าหรับการปลูก
                                              วิถีการตลาดยางพาราของจังหวัดระนอง รูปแบบลักษณะตลาด
                  ยางพาราในจังหวัดระนองเป็นตลาดของผู้ซื้อเนื่องจากมีผู้ซื้อจ านวนน้อยราย ขณะที่เกษตรกรหรือผู้ขาย

                  ซึ่งมีจ านวนมากมาย และส่วนมากเป็นเจ้าของสวนยางขนาดเล็ก ปัจจุบันมีปริมาณการผลิตลดลง
                  เนื่องจากพื้นที่ตัดโค่นไม้ยางลดลง ในขณะที่ความต้องการจากต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศจีนซึ่งเป็น
                  ตลาดใหญ่ ยังมีความต้องการมากท าให้ราคาไม้ยางพาราปี 2560 สูงกว่าปีที่ผ่านมา จากผลผลิต
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40