Page 88 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
P. 88

3-30





                        3.3.2 การชะล้างพังทลายของดิน

                             การสูญเสียดินเนื่องจากการชะล้างพังทลายของดิน ท าให้เกิดการสูญเสียหน้าดินที่มีธาตุ
                  อาหารพืช อินทรียวัตถุในดิน ตลอดจนโครงสร้างของดิน ส่งผลให้ความอุดมสมบูรณ์ และความสามารถ
                  ในการให้ผลผลิตของดินลดลง เป็นสาเหตุหลักที่ท าให้ทรัพยากรดินเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อ

                  ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ และส่งผลกระทบโดยตรงต่อปริมาณผลผลิตของเกษตรกร
                  จึงจ าเป็นต้องมีการประเมินการสูญเสียดินจากการชะล้างพังทลายของดิน โดยประเมินจากสมการ
                  การสูญเสียดินสากล (Universal Soil Equation: USLE) ของ Wischmeier & Smith (1978) ส าหรับ
                  วิเคราะห์ปริมาณดินที่สูญเสียจากการชะล้างพังทลาย โดยมีรูปแบบของสมการ ดังนี้
                                                      A = RKLSCP

                             จากค่าปัจจัยทั้ง 5 ปัจจัยนั้น สามารถน ามาค านวณการสูญเสียดินสอดคล้องตามสมการ
                  การสูญเสียดินสากล (Universal Soil Loss Equation : USLE) โดยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งแบ่ง
                  ชั้นความรุนแรงของการสูญเสียดินออกเป็น 5 ระดับดังนี้ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2545)


                             ชั้นความรุนแรงของการสูญเสียดิน              อัตราการสูญเสียดิน (ตัน/ไร่/ปี)
                                น้อย                                               0-2
                                ปานกลาง                                            2-5
                                รุนแรง                                             5-15
                                มาก                                               15-20
                                มากที่สุด                                       มากกว่า 20




                             จากการประเมินการชะล้างพังทลายของดิน โดยการประเมินอัตราการสูญเสียดิน และ
                  จัดชั้นความรุนแรงของการสูญเสียดินของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ตารางที่ 3-9 และรูปที่ 3-15) พบว่า
                  อัตราการสูญเสียดินในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์อยู่ในระดับน้อย ปานกลาง รุนแรง รุนแรงมาก และ
                  รุนแรงมากที่สุด ตามล าดับ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในระดับการสูญเสียดินน้อยและปานกลาง มากที่สุด มี

                  เนื้อที่ 2,698,747 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 67.81 และ 882,935 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 22.19 ของพื้นที่ทั้งหมด
                  ตามล าดับ ส่วนใหญ่มีสภาพพื้นที่ราบเรียบ ราบลุ่มน้ าทะเลเคยท่วมถึง ที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ
                  ที่ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย  มีการท านา หรือพื้นที่ดอนที่มีการปลูกพืชไร่ ไม้ยืนต้น

                  ไม้ผล พืชสวนสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ า ทุ่งหญ้าธรรมชาติ และเป็นพื้นที่ลุ่ม หรือพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อนที่มี
                  การใช้ประโยชน์ คือ ปลูกพืชไร่ ไม้ยืนต้น ไม้ผล และป่าไม่ผลัดใบและป่าผลัดใบสมบูรณ์ ส่วนระดับการ
                  สูญเสียดินระดับรุนแรงถึงรุนแรงมาก มีเนื้อที่ 282,613 ไร่ หรือร้อยละ 7.10 และ 64,233 ไร่ หรือร้อยละ
                  1.61 ของพื้นที่ทั้งหมด ตามล าดับ จะพบในพื้นที่ดอนที่อยู่ในเขตดินชื้นและเขตดินแห้ง ที่มีการปลูกพืชไร่
                  ไม้ยืนต้น ไม้ผล พืชสวน และป่าผลัดใบสมบูรณ์ ส่วนระดับการสูญเสียระดับรุนแรงมากที่สุด มีเนื้อที่

                  51,235 ไร่ หรือร้อยละ 1.29 ของพื้นที่ทั้งหมด ส่วนใหญ่จะพบในพื้นที่ดอนอยู่ในเขตดินชื้น และ
                  เขตดินแห้ง ลักษณะดินเป็นดินเนื้อหยาบ เป็นดินตื้น พบชั้นหินพื้น เศษหิน ลูกรัง ที่มีการปลูกพืชไร่
                  ไม้ยืนต้น ไม้ผล และเป็นพื้นที่ถม เนื่องจากดินมีความสามารถในการอุ้มน้ าต่ า เมื่อมีฝนตกชุกเกิดการ

                  ชะล้างพังทลายของดิน จะท าให้สูญเสียหน้าดินได้มากกว่าพื้นที่อื่น จ าเป็นต้องมีการใช้ที่ดินอย่าง
   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93