Page 91 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
P. 91

3-33





                        3.3.3 การประเมินคุณภาพดิน

                          จากการใช้คู่มือการประเมินคุณภาพที่ดิน ส าหรับการวางแผนการใช้ที่ดินระดับต าบล
                  และระดับจังหวัด (ศันสนีย์ และค ารณ , 2562) เป็นการประเมินคุณภาพที่ดิน ตามนโยบายและแผน
                  การบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) แผนบริหารจัดการ

                  ที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ.2560-2564) และแผนปฏิรูปประเทศที่มีความต้องการแผน
                  การใช้ที่ดินในกระบวนทัศน์เชิงอุปสงค์ (Demand Paradigm) คือการใช้ตลาดน าการผลิต โดยมิได้พิจารณา
                  ศักยภาพหรือความเหมาะสมของที่ดิน (Supply Paradigm) เพียงอย่างเดียว แต่ต้องค านึงความสามารถ
                  ของตลาดที่สามารถรองรับปริมาณของผลผลิตของพืชแต่ละชนิดได้ด้วย กระบวนการวางแผนการใช้ที่ดิน
                  (Land Use Planning Approach) จึงจ าเป็นต้องปรับเปลี่ยนจากการวางแผนการใช้ที่ดินแบบทางเลือก

                  (Supply Basis Approach) มาเป็นแผนการใช้ที่ดินแบบก าหนดพื้นที่ชัดเจนว่าพืชเศรษฐกิจหลักจะปลูก
                  ที่ไหนบ้าง มีพื้นที่ปลูกที่ชัดเจน ให้ผลผลิตที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด (Demand  Basis
                  Approach  :  DB)  ซึ่งขั้นตอนในการก าหนดเขตการใช้ที่ดินแบบ  “อุปสงค์น าอุปทาน” หรือ DB

                  จ าเป็นต้องใช้วิธีการหรือเทคนิคเฉพาะที่เรียกว่า Single Map Approach : SMA (Kamron Saifuk,
                  2014) คือกระบวนการก าหนดเขตการปลูกพืชเศรษฐกิจหลายชนิดลงในแผนที่เดียว ซึ่งสามารถ
                  ตอบสนองความต้องการภาครัฐในการบริหารจัดการผลผลิตทางการเกษตรได้อย่างเป็นรูปธรรม
                            หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกคุณภาพที่ดินเพื่อการประเมินความเหมาะสมที่ดิน

                  ยึดหลักเกณฑ์ ดังนี้
                              1. คุณลักษณะที่ดินนั้นจะต้องมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช (Effect upon use)
                                1) มีผลมาก (Large)
                                2) มีผลปานกลาง (Moderate)

                                3) มีผลน้อยมาก (Slight)
                              2. ค่าวิกฤตต้องเกิดขึ้นบ่อยครั้ง (Occurrence of Critical Values) ในพื้นที่ศึกษา
                                1) เกิดบ่อยครั้ง (Frequent)
                                2) เกิดขึ้นบ้าง (Infrequent)

                                3) เกิดยากมาก (Rarely)
                              3. ข้อมูล
                                1) สามารถเอามาได้ (Obtainable)

                                2) ไม่สามารถเอามาได้ (Unobtainable)
                              จากหลักเกณฑ์ทั้ง 3 ข้อ ดังกล่าว น ามาประเมินเป็นระดับความส าคัญของคุณภาพที่ดิน
                  (โดยจะใช้คุณลักษณะที่ดินเป็นตัวแทนคุณภาพที่ดิน) เป็นระดับความส าคัญ (Significance) ได้ดังนี้
                                1) ส าคัญมาก  จะต้องใช้ในการประเมินทุกครั้งมีล าดับความส าคัญสูงสุด
                                2) ส าคัญ     ต้องใช้ในการประเมินแต่มีความส าคัญรองลงมา

                                3) ส าคัญน้อย  ไม่จ าเป็นต้องใช้ในการประเมิน
                              ชั้นความเหมาะสม (Suitabillity class) แบ่งออกเป็น 2 ชั้นใหญ่ 5 ชั้นย่อย ดังนี้
                              1. ชั้นที่มีความเหมาะสม (Suitabillity class) ประกอบด้วย

                                S1   หมายถึงมีความเหมาะสมมาก (Highly suited)
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96