Page 92 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
P. 92

3-34





                                S2   หมายถึงมีความเหมาะสม (Suited)

                                S3   หมายถึงมีความเหมาะสมน้อย (Marginally suited)
                              2. ชั้นที่ไม่มีความเหมาะสม (Not – Suitable class) ประกอบด้วย
                                N1   หมายถึงไม่มีความเหมาะสมในปัจจุบัน (Currently not suited)

                                N2   หมายถึงไม่มีความเหมาะสมถาวร
                              แต่ในปัจจุบันชั้นที่ไม่มีความเหมาะสมจะยังไม่จ าแนกออกเป็นชั้น N1 และ N2 แต่จะ
                  จ าแนกเป็น ชั้น N รวมเป็นชั้นที่ไม่มีความเหมาะสมเพียงชั้นเดียว
                              คุณภาพที่ดิน  (Land  Quality)  เป็นปัจจัยหลักที่ควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
                  ในระบบการประเมินคุณภาพที่ดินของ FAO ก าหนดไว้ 25 ปัจจัย แต่จากหลักเกณฑ์การคัดเลือกปัจจัย

                  เฉพาะที่มีผลต่อการเจริญเติบโต เป็นข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้ และมีความส าคัญในประเทศจะใช้เพียง
                  10 ปัจจัยเท่านั้น โดยภายใต้ Land  Quality จะประกอบด้วยปัจจัยบ่งชี้ (Diagnostic  factor) ได้แก่
                  “คุณลักษณะที่ดิน (Land  Characteristic)”  ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยก็ได้ ขึ้นกับความต้องการของพืช

                  (Crop requirements) ที่ใช้ประเมิน โดยมีองค์ประกอบดังนี้
                              1. ความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช
                                - ปริมาณน้ าฝน (r)
                              2. ความเป็นประโยชน์ของออกซิเจนต่อรากพืช

                                - การระบายน้ า (o)
                              3. ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร
                                - ความอิ่มตัวด้วยด่าง (b)
                                - ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน (c)

                              4. ความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร
                                - ปริมาณอินทรียวัตถุ (m)
                                - ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (p)
                                - ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ (k)

                                - ปฏิกิริยาของดิน (a)
                              5. สภาวะการหยั่งลึกของราก
                                - ความลึกของดิน (d)

                              6. การมีเกลือมากเกินไป
                                - การน าไฟฟ้า (x)
                              7. สารพิษ
                                - จาโรไซด์ (j)
                              8. ความเสียหายจากการกัดกร่อน

                                - ความลาดชัน (g)
                            ผลจากการประเมินความเหมาะสมของที่ดินของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สามารถจ าแนก
                  การจัดชั้นความเหมาะสมของที่ดินในระดับชั้นย่อย รายละเอียดดังนี้ (ตารางผนวกที่ 3)
   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97