Page 84 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
P. 84

3-26





                  ชุดดินลาดหญ้า (Ly) ชุดดินปราณบุรี (Pr) ชุดดินภูสะนา (Ps) ดินคล้ายชุดดินตาคลี ที่ดินร่วนละเอียด

                  และพบมวลสารพอกที่ระดับความลึก 50-100 เซนติเมตร (Tk-fl-clB/d3c) ดินคล้ายชุดดินตาคลีดินร่วน
                  ละเอียดและพบมวลสารพอกที่ระดับความลึก 100-150 เซนติเมตร (Tk-fl-clB/d4c) ชุดดินท่าม่วง (Tm)
                  และชุดดินวังสะพุง (Ws)

                                     - กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินทราย มีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายตลอดหน้าตัดดินและ
                  อนุภาคทรายมีขนาดหยาบขึ้นตามความลึก ได้แก่ ดินคล้ายชุดดินหุบกะพงที่เป็นทรายหนามาก
                  (Hg-vtks-lsA)
                                    - กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินตื้น มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนดินเหนียว ส่วนดินล่างเป็นดินร่วน
                  ปนเหนียว ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง พบกรวดหรือลูกรังเป็นพวกเศษหินคอร์ตไซต์ หินทราย หินฟิลไลท์

                  หินดินดาน ปะปนปริมาณเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 35 โดยปริมาตร หรือพบชั้นหินพื้นหรือชั้นมาร์ล
                  ได้แก่ ชุดดินบึงชะนัง (Bng) ชุดดินหินซ้อน (Hs) ชุดดินมวกเหล็ก (Ml) ชุดดินทับเสลา (Tas) ชุดดินท่ายาง (Ty)

                          2) ทรัพยากรดินมีปัญหาทางการเกษตร
                            ทรัพยากรดินที่มีปัญหาทางการเกษตร สามารถจ าแนกตามสาเหตุของการเกิดปัญหาได้

                  2 ประเภท คือ ดินปัญหาที่เกิดตามสภาพธรรมชาติ ได้แก่ ดินเปรี้ยวจัดหรือดินกรดก ามะถัน ดินอินทรีย์
                  ดินเค็ม ดินทราย และดินตื้น และดินปัญหาที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ ดินดาน ดินปนเปื้อน
                  ดินเหมืองแร่ร้าง และพื้นที่ที่ผ่านการเลี้ยงกุ้ง ดินกรด และดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ า (กรมพัฒนาที่ดิน, 2561)
                            ทรัพยากรดินปัญหาที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ตารางที่ 3-8

                  และรูปที่ 3-13) พบว่า ส่วนใหญ่มีปัญหาดินตื้นในพื้นที่ดอน เป็นดินตื้นถึงชั้นลูกรัง ก้อนกรวด หรือเศษหิน
                  249,775 ไร่ หรือร้อยละ 6.28 ของเนื้อที่จังหวัด ดินตื้นถึงชั้นหินพื้น 35,746 ไร่ หรือร้อยละ 0.90 ของ
                  เนื้อที่จังหวัด และดินตื้นถึงชั้นมาร์ลหรือก้อนปูน 2,070 ไร่ หรือร้อยละ 0.05 ของเนื้อที่จังหวัด ดินตื้น
                  เป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืช และการไถพรวน ความสามารถในการดูดซับน้ าและธาตุอาหารต่ า

                  เนื่องจากมีเนื้อดินเหนียวน้อย ท าให้การเกาะยึดของเม็ดดินไม่ดี เกิดการชะล้างพังทลายของดินได้ง่าย
                  รองลงมา คือ ปัญหาดินทรายจัดในพื้นที่ดอน 170,566 ไร่ หรือร้อยละ 4.29 ของเนื้อที่จังหวัด และ
                  ดินทรายจัดในพื้นที่ลุ่ม 18,202 ไร่ หรือร้อยละ 0.46 ของเนื้อที่จังหวัด ซึ่งปัญหาดินทรายจัด ก่อให้เกิด

                  การชะล้างพังทลายได้ง่าย เนื่องจากมีการระบายน้ าดีเกินไป ไม่อุ้มน้ า ท าให้เกิดปัญหาพืชขาดน้ า เป็น
                  ดินไม่มีโครงสร้างเป็นเม็ดเดี่ยวๆ ท าให้ไม่เกาะยึดตัว สูญเสียดิน น้ า และธาตุอาหารได้ง่าย ความอุดมสมบูรณ์
                  ของดินต่ า ปัญหาจากดินเค็มบก 40,915 ไร่ หรือร้อยละ 1.03 ของเนื้อที่จังหวัด และดินเค็มชายทะเล
                  16,779 ไร่ หรือร้อยละ 0.42 ของเนื้อที่จังหวัด สภาพปัญหาดินเค็มจะส่งผลให้สมบัติทางกายภาพของดิน
                  ไม่มีดี ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ า เกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหาร มีความเป็นพิษของธาตุโซเดียม

                  และคลอไรด์ พืชที่ปลูกไม่เจริญเติบโต ให้ผลผลิตต่ า และปัญหาดินเปรี้ยวจัดพบชั้นดินกรดก ามะถันใน
                  ระดับความลึกปานกลาง 14,446 ไร่ หรือร้อยละ 0.36 ของเนื้อที่จังหวัด ซึ่งดินเป็นกรดจัดมาก มีค่า
                  พีเอชต่ าว่า 4.5 มีความเป็นพิษของอะลูมินัม เหล็ก แมงกานีส ซัลไฟด์ ขาดธาตุอาหารไนโตรเจนและ

                  ฟอสฟอรัส โครงสร้างดินแน่นทึบ ท าให้ดินมีการระบายน้ าเลว เนื้อดินเป็นดินเหนียวถึงเหนียวจัด
                  เมื่อดินแห้งจะแข็งและแตกระแหง ท าให้ยากต่อการไถพรวน
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89