Page 82 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
P. 82

3-24





                  3.3  ทรัพยากรดิน

                        3.3.1 สถานภาพทรัพยากรดิน
                          1) ทรัพยากรดิน

                              ทรัพยากรดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (รูปที่ 3-13) ประกอบด้วย
                                1.1  ดินในพื้นที่ราบลุ่ม พบตั้งแต่พื้นที่ราบลุ่มน้ าทะเลเคยท่วมถึงที่ราบเรียบถึง
                  ค่อนข้างราบเรียบ ที่ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีน้ าแช่ขังระดับน้ าใต้ดินอยู่ใกล้ผิวดิน
                  เป็นเวลานานในฤดูฝน การระบายน้ าดีปานกลาง ค่อนข้างเลวถึงเลว ดินมีสีน้ าตาลปนเทา สีเทา
                  มีจุดประสีต่างๆ ตลอดหน้าตัดดินที่มีการบ่งบอกถึงการมีน้ าแช่ขังนานในหน้าตัดดิน บางบริเวณพบ

                  ชั้นศิลาแลงอ่อน มากกว่าร้อยละ 50 โดยปริมาตรภายในความลึก 50 เซนติเมตรจากผิวดิน และใน
                  ดินตอนล่างมีมวลก้อนกลมของเหล็กและแมงกานีสทั้งอ่อนและแข็ง ปฏิกิริยาดินจะเป็นกรดจัดถึง
                  กรดเล็กน้อย และมีบางบริเวณได้รับอิทธิพลจากดินเปรี้ยวจัดเข้ามาเกี่ยวข้อง ปฏิกิริยาดินจะเป็นกรด

                  รุนแรงมากถึงเป็นกรดจัดมาก นอกจากนี้มีบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากความเค็มน้ าทะเลในช่วงที่
                  น้ าทะเลขึ้นสูง ปฏิกิริยาดินจะเป็นกรดเล็กน้อยจนถึงด่างปานกลาง และเป็นด่างจัดในชั้นตะกอนทะเล
                  ความอุดมสมบูรณ์ต่ าจนถึงสูง ขึ้นอยู่กับกระบวนการทางดินและวัตถุต้นก าเนิดดิน สามารถจ าแนกตาม
                  กลุ่มเนื้อดินได้ 6 กลุ่ม ดังนี้

                                    - กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินเลนชายทะเล มีเนื้อดินเป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวปน
                  ทรายแป้ง และตั้งแต่ระดับความลึก 50 เซนติเมตร ลึกลงไปเป็นดินเลน ซึ่งพื้นที่มีน้ าทะเลท่วมถึงระดับใต้ดิน
                  ขึ้นสูงเกือบถึงผิวหน้าดินตลอดปี ได้แก่ ชุดดินท่าจีน (Tc)
                                      - กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินเหนียว มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียว ดินร่วนเหนียว

                  ปนทรายแป้งหรือดินเหนียว ส่วนดินล่างเป็นดินเหนียวปนทรายแป้งหรือดินเหนียว ได้แก่ ชุดดินละงู (Lgu)
                  ชุดดินนครปฐม (Np) ชุดดินพัทลุง (Ptl) ชุดดินสมุทรปราการ (Sm) และชุดดินท่าศาลา (Tsl) บางบริเวณที่
                  ได้รับอิทธิพลของตะกอนทะเลจะเป็นดินเปรี้ยวจัด ได้แก่ ชุดดินรังสิต (Rs)
                                      - กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินทรายแป้ง มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทรายแป้งหรือดินเหนียว

                  ปนทรายแป้ง ส่วนดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง บางบริเวณพบดินเลนในดินล่าง ลึกกว่า 150
                  เซนติเมตร ได้แก่ ชุดดินสายบุรี (Bu) และชุดดินพานทอง (Ptg)
                                      - กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินร่วน มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทรายแป้ง ดินร่วน

                  ปนทราย ส่วนดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย ดินร่วนปนดินเหนียว บางบริเวณพบชั้นผลึกไมกา
                  ตลอดหน้าตัดดิน เนื้อดินมีปริมาณทรายแป้งสูง มีโอกาสเกิดชั้นดานไถพรวน ได้แก่ ชุดดินไชยา (Cya)
                  ชุดดินเขาย้อย (Kyo) ชุดดินเพชรบุรี (Pb) ชุดดินปากคม (Pkm) และชุดดินวิสัย (Vi)
                                      - กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินทราย มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินทรายปนร่วน
                  มีความหนาประมาณ 30 เซนติเมตร ดินล่างเป็นดินทรายหรือทรายปนร่วน ได้แก่ ชุดดินวัลเปรียง (Wp)

                                      - กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินเค็ม มักพบในบริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากน้ าทะเลในอดีต
                  ดินบนเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินทรายปนร่วน ดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย ได้แก่ ชุดดินหนองแก (Nk)
                                1.2  ดินบริเวณพื้นที่ดอนที่อยู่ในเขตดินชื้น เป็นดินมีช่วงแห้งติดต่อกันน้อยกว่า 45 วัน

                  หรือดินแห้งรวมกันน้อยกว่า 90 วันในรอบปี ซึ่งเป็นพื้นที่มีฝนตกชุกและการกระจายของฝนดี สภาพพื้นที่
                  มีตั้งแต่ค่อนข้างราบเรียบ ลูกคลื่นลอนลาด ลูกคลื่นลอนชันถึงเนินเขา มีระดับน้ าใต้ดินอยู่ลึกกว่า 2 เมตร
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87