Page 83 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
P. 83

3-25





                  การระบายน้ าดีปานกลางถึงดี ดินมีสีน้ าตาลปนเทา สีน้ าตาลปนเหลือง สีน้ าตาลปนแดง สีน้ าตาล อาจพบ

                  จุดประสีต่างๆ เล็กน้อย ปฏิกิริยาดินมีตั้งแต่เป็นกรดจัดมากถึงกรดปานกลาง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ า
                  สามารถจ าแนกตามกลุ่มดิน ได้ 4 กลุ่ม ดังนี้
                                    - กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินเหนียว มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง

                  ส่วนดินล่างเป็นดินเหนียวหรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง บางบริเวณพบพวกเศษหิน ลูกรัง ระหว่าง
                  ความลึก 50-100 เซนติเมตร ได้แก่ ชุดดินอ่าวลึก (Ak)  ชุดคล้ายชุดดินล าภูรา ที่เป็นด่างสูง และมีการ
                  ระบายน้ าปานกลาง (Ll-hb,mw-SlA) ชุดดินนาทอน (Ntn) และชุดดินตราด (Td)
                                    - กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินร่วน มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย ดินร่วน
                  ปนทรายแป้ง ส่วนดินล่างเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียวปนทราย อาจมีเศษหินทราย หรือ

                  กรวดปน ได้แก่ ชุดดินบางสะพาน (Bs) ชุดดินคอหงส์ (Kh) ชุดดินควนกาหลง (Kkl) ชุดดินคลองท่อม (Km)
                  ชุดดินคลองกระทุง (Knk)  ดินคล้ายชุดดินล าภูราที่ระบายน้ าดีปานกลางและเป็นดินทรายแป้งละเอียด
                  (Li-mw,fsi-silA,  Li-mw,fsi-silB)  ชุดดินพะโต๊ะ (Pto) ชุดดินรือเสาะ (Ro)  ดินคล้ายชุดดินสะเดา

                  ปนกรวดที่ระดับความลึก 50-100 เซนติเมตร (Sd-SlC/d3g) ชุดดินสวี (Sw)  ชุดดินท่าแซะ (Te)  และ
                  ชุดดินทุ่งหว้า (Tg)
                                    - กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินทราย เป็นดินทรายลึกมาก มีเนื้อดินบนและดินล่างเป็นดินทราย
                  หรือดินทรายปนดินร่วน ได้แก่ ชุดดินบาเจาะ (Bc) ชุดดินหัวหิน (Hh) ชุดดินคอหงส์ (Kh) ชุดดินหลังสวน (Lan)

                  ชุดดินสัตหีบ (Sh) ดินคล้ายชุดดินทุ่งหว้าที่เป็นทรายหนามาก (Tg-vtks-lsC)
                                    - กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินตื้น มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย ส่วนดินล่าง
                  เป็นดินร่วน ดินร่วนปนกรวดมาก มีกรวดหรือลูกรังปะปนปริมาณเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 35 โดย
                  ปริมาตร หรือพบชั้นหินพื้นภายในความลึก 50 เซนติเมตร จากผิวดิน ได้แก่ ชุดดินชุมพร (Cp)  ชุดดิน

                  ห้วยยอด (Ho)  หน่วยเชิงซ้อนของชุดดินห้วยยอดและชุดดินคลองเต็ง (Ho-Klt-clC) ชุดดินหาดใหญ่ (Hy)
                  ดินคล้ายชุดดินนกกระทุงที่เป็นดินร่วนปนกรวดมาก (Knk-lsk-gslC)  ชุดดินระนอง (Rg)  และดินคล้าย
                  ชุดดินทุ่งหว้าที่เป็นดินร่วนปนกรวดมาก (Tg-lsk-gslC, Tg-lsk-gslD, Tg-lsk-gslE)

                                1.3  ดินบริเวณพื้นที่ดอนที่อยู่ในเขตดินแห้ง ดินมีช่วงแห้งนานและดินแห้งติดต่อกัน
                  มากกว่า 45 วัน หรือแห้งรวมกันมากกว่า 90 วัน ในรอบปี จึงเป็นการท าการเกษตรแบบอาศัยน้ าฝน
                  สภาพพื้นที่มีตั้งแต่ค่อนข้างราบเรียบ ลูกคลื่นลอนลาดถึงเนินเขา มีระดับน้ าใต้ดินอยู่ลึกกว่า 2 เมตร

                  การระบายน้ าดี ดินส่วนใหญ่เป็นสีน้ าตาล สีน้ าตาลปนเหลือง สีน้ าตาลปนแดง ปฏิกิริยามีตั้งแต่กรดจัด
                  ถึงเป็นด่างจัด มีความอุดมสมบูรณ์ต่ าถึงสูง ขึ้นอยู่กับกระบวนการทางดินและชนิดของวัตถุต้นก าเนิดดิน
                  จ าแนกตามกลุ่มเนื้อดินได้ 4 กลุ่ม ดังนี้
                                    - กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินเหนียว มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนดินเหนียวหรือดินเหนียว

                  ปนทรายแป้ง ดินล่างเป็นดินเหนียว ได้แก่ ชุดดินกลางดง (kld)
                                    - กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินร่วน มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว
                  ปนทราย ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง ส่วนดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง
                  บางบริเวณในชั้นดินล่างพบชั้นปูนมาร์ล และอาจพบปริมาณของควอตซ์เพิ่มขึ้นตามความลึก พบชั้น

                  หินแกรนิตที่ก าลังผุพังสลายตัวมีสีแดง สีขาว และสีเหลืองปะปนกัน ได้แก่ ชุดดินบ้านไร่ (Bar)  ชุดดิน
                  บ้านฉาง (Bcg) ชุดดินหุบกะพง (Hg) ชุดดินเขาพลวง (Kpg) ชุดดินก าแพงแสน (Ks) ชุดดินลานสัก (Lsk)
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88