Page 202 - Land Use Plan of Thailand
P. 202

6-40





                        6.3.8  เขตท่องเที่ยว

                               การท่องเที่ยวนับเป็นอุตสาหกรรมหลักที่มีบทบาทส าคัญต่อการพัฒนาของประเทศ
                  เนื่องจากยังคงมีศักยภาพและโอกาสในการท่องเที่ยวทั้งด้านท าเลที่ตั้งในการเป็นจุดศูนย์กลางของภูมิภาค
                  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติศิลปวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์

                  โดยใน พ.ศ.2558 World Economic Forum: WEF ได้จัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้าน
                  การท่องเที่ยวของประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 35 จาก 141 ประเทศทั่วโลก (คณะกรรมการนโยบาย
                  การท่องเที่ยวแห่งชาติ, 2560 : ค) คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติจึงได้จัดท าแผนพัฒนา
                  การท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ.2555–2559 เพื่อเป็นแผนหลักในการพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศขึ้น
                  เป็นฉบับแรก และเพื่อให้การท่องเที่ยวมีการบริหารและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง พ.ศ.2560 จึงได้มีการ

                  จัดแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ.2560 – 2564) โดยมีการเน้นย้ าเรื่องการวางรากฐาน
                  การพัฒนาให้มีการปรับตัวให้สอดคล้องกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกและส่งเสริมการท่องเที่ยว
                  ให้ประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพอย่างมีดุลยภาพและยั่งยืนโดยมี 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่

                  (1) การพัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว สินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวให้เกิดความสมดุลและยั่งยืน
                  (2) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอ านวยความสะดวก เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรม
                  ท่องเที่ยว (3) การพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการ
                  ท่องเที่ยว (4) การสร้างความสมดุลให้กับการท่องเที่ยวไทย ผ่านการตลาดเฉพาะกลุ่ม การส่งเสริมวิถีไทย

                  และการสร้างความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยว (5) การบูรณาการการบริหารจัดการการท่องเที่ยว และการ
                  ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศซึ่งได้มีการแบ่งกลุ่มจังหวัดเพื่อจัดท าเขตพัฒนาการท่องเที่ยวออกเป็น
                  8 เขต ดังนี้
                               (1)  เขตพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา ประกอบไปด้วยจังหวัดเชียงใหม่

                  เชียงรายล าพูนล าปางและพะเยาโดยมีจังหวัดเชียงใหม่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของเขตพัฒนาการ
                  ท่องเที่ยว ได้ประกาศเป็นเขตพัฒนาการท่องเที่ยว เมื่อ พ.ศ.2558 (คณะกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยว
                  ประจ าเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา, 2558) ซึ่งมีจุดเด่นด้านทรัพยากรด้านการท่องเที่ยว
                  และศักยภาพในด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมศิลปะภูมิปัญญาท้องถิ่นและทรัพยากรธรรมชาติ

                  ที่หลากหลาย มีสิ่งอ านวยความสะดวกรองรับนักท่องเที่ยวได้ดีมีสนามบินนานาชาติ ท าให้ในพื้นที่
                  เขตพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนาเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
                  มีเส้นทางคมนาคม และเป็นประตูสู่อนุภูมิภาคลุ่มน้ าโขงเช่น สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 ซึ่งเป็น

                  สะพานที่เชื่อมต่อบ้านดอนมหาวัน อ าเภอเชียงของ จังหวัดเชียงรายเข้ากับบ้านดอน เมืองห้วยทราย
                  แขวงบ่อแก้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จึงมีวิสัยทัศน์การพัฒนา คือ “การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม
                  และภูมิปัญญาล้านนาเชิงสร้างสรรค์เชื่อมโยงอนุภูมิภาคลุ่มน้ าโขง”
                               (2)  เขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตก ประกอบไปด้วยจังหวัดเพชรบุรี
                  ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพรและระนองโดยมีจังหวัดเพชรบุรีเป็นศูนย์ปฏิบัติการของเขตพัฒนาการท่องเที่ยว ได้

                  ประกาศเป็นเขตพัฒนาการท่องเที่ยว เมื่อ พ.ศ.2558 ซึ่งมีวิสัยทัศน์การพัฒนา คือ “การท่องเที่ยวพักผ่อน
                  เพื่อสุขภาพชั้นน าของโลก” (คณะกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวประจ าเขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเล
                  ตะวันตก, 2558) โดยแต่ละจังหวัดมีทรัพยากรทางการท่องเที่ยวที่โดดเด่นร่วมกันคือทรัพยากรทางธรรมชาติ
   197   198   199   200   201   202   203   204   205   206   207