Page 203 - Land Use Plan of Thailand
P. 203

6-41





                  ที่เป็นทะเลชายหาดเกาะที่สวยงามอย่างไรก็ตามแต่ละจังหวัดก็มีความโดดเด่นที่แตกต่างกันไปในภาพลักษณ์

                  และรูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบหลักคือ
                                   -  กลุ่มท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาวิถีวัฒนธรรมโดยมีจังหวัด
                  เพชรบุรีเป็นศูนย์กลาง

                                   -  กลุ่มท่องเที่ยวทางธรรมชาติภูเขาป่าไม้อุทยานแห่งชาติแหล่งท่องเที่ยว
                  เชิงนิเวศและชายฝั่งทะเลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และชุมพรเป็นศูนย์กลาง
                                   -  กลุ่มท่องเที่ยวพักผ่อนและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยมีจังหวัดระนอง
                  เป็นศูนย์กลาง
                               (3)  เขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันออก ประกอบไปด้วยจังหวัดชลบุรี ระยอง

                  จันทบุรีและตราดโดยมีจังหวัดชลบุรีเป็นศูนย์ปฏิบัติการของเขตพัฒนาการท่องเที่ยว ได้ประกาศ
                  เป็นเขตพัฒนาการท่องเที่ยว เมื่อ พ.ศ.2558 ซึ่งถือเป็นเขตพื้นที่ท่องเที่ยวหลักส าคัญเป็นอันดับต้นๆ
                  ของประเทศไทยและมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาเยือนจ านวนมากโดยมีเมืองท่องเที่ยว

                  หลักที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติคือเมืองพัทยาเกาะช้างและเกาะเสม็ดและยังเป็นจุดหมายปลายทาง
                  ของนักท่องเที่ยวชาวไทยจากทุกภูมิภาคทั้งนี้เนื่องจากมีความหลากหลายของทรัพยากรทางการ
                  ท่องเที่ยวทั้งทางธรรมชาติและวัฒนธรรม โดยมีวิสัยทัศน์การพัฒนาคือ “การท่องเที่ยวชายทะเลสีสัน
                  ตะวันออกระดับสากลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเชื่อมโยงสู่กัมพูชาและเวียดนาม” (คณะกรรมการ

                  พัฒนาการท่องเที่ยวประจ าเขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันออก, 2558)
                               (4)  เขตพัฒนาการท่องเที่ยวอันดามัน ประกอบไปด้วยจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ตรัง
                  และสตูลโดยมีจังหวัดภูเก็ตเป็นศูนย์ปฏิบัติการของเขตพัฒนาการท่องเที่ยวได้ประกาศเป็นเขตพัฒนาการ
                  ท่องเที่ยว เมื่อ พ.ศ.2558 มีวิสัยทัศน์การพัฒนา คือ “การท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลกบนฐานวัฒนธรรม

                  อันดามัน” (คณะกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวประจ าเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอันดามัน, 2558)
                  เนื่องจากมีฐานทรัพยากรการท่องเที่ยวที่หลากหลายและมีศักยภาพสูง โดยเฉพาะทรัพยากรการ
                  ท่องเที่ยวทางทะเลที่มีชื่อเสียงติดอันดับโลก และได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวระดับนานาชาติซึ่ง
                  ประกอบไปด้วยอุทยานแห่งชาติทางทะเล 11 แห่ง และวนอุทยานอีกจ านวน 5 แห่งนอกจากนี้ยังมี

                  ศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลายตามประวัติศาสตร์มีความเจริญรุ่งเรืองในอดีตที่มีการผสมผสานทางอารยธรรม
                  ระหว่างพุทธ–พราหมณ์–จีน–อิสลาม ซึ่งสามารถสร้างรายได้หลักจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติโดยเฉพาะ
                  กลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีรายได้สูงและยังคงมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง

                               (5)  เขตพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมอีสานใต้ ประกอบไปด้วยจังหวัดนครราชสีมา
                  บุรีรัมย์สุรินทร์ศรีสะเกษและอุบลราชธานีโดยมีจังหวัดนครราชสีมาเป็นศูนย์ปฏิบัติการของเขต
                  พัฒนาการท่องเที่ยว ได้ประกาศเป็นเขตพัฒนาการท่องเที่ยว เมื่อ พ.ศ.2558 ซึ่งจากการวิเคราะห์ข้อมูล
                  ของเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมอีสานใต้สามารถสรุปจุดเด่นของเขตพัฒนาการท่องเที่ยว
                  อารยธรรมอีสานใต้น าไปสู่การจัดท าแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเนื่องจากเป็นแหล่งท่องเที่ยวทาง

                  ธรรมชาติที่เป็นมรดกโลกได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา มีแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์อารยธรรมขอม
                  ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์ ภูมิปัญญาเรื่องผ้าไหมเป็นประตูสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
                  ซึ่งมีการคมนาคม ได้แก่ สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 6 ซึ่งเป็น สะพานที่เชื่อมต่อ อ าเภอนาตาลจังหวัด

                  อุบลราชธานี เข้ากับเมืองละคอนเพ็งแขวงสาละวันสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และตลาดการค้า
   198   199   200   201   202   203   204   205   206   207   208