Page 187 - Land Use Plan of Thailand
P. 187

6-25





                             2)  โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก (Eastern Seaboard :ESB)

                  (ประกอบด้วย 3 จังหวัด คือ จังหวัดระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา)ขนาดพื้นที่ 8.3 ล้านไร่
                             3)  โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor:
                  EEC)การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) หรืออีอีซีในพื้นที่ 3

                  จังหวัดภาคตะวันออกได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ได้มีการประกาศเขตส่งเสริมใน 5 พื้นที่
                  ประกอบด้วยเขตส่งเสริมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก: เมืองการบินภาคตะวันออก (Special EEC
                  Zone: Eastern Airport City ตั้งอยู่บนพื้นที่ 6,500 ไร่ บริเวณสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา เพื่อยกระดับ
                  สนามบินอู่ตะเภาให้เป็นศูนย์กลางการบิน เพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารในอีก 5 ปีข้างหน้า
                  คาดว่าจะมีมากถึง 15 ล้านคนต่อปี และจะเพิ่มความสามารถในการรองรับเป็น 35 ล้านคนต่อปี ในอีก 10 ปี

                  และ 60 ล้านคนต่อปีในอีก 15 ปีข้างหน้าเขตส่งเสริมนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
                  (Eastern Economic Corridor of Innovation: EECi) ตั้งอยู่ในบริเวณวังจันทร์วัลเล่ย์ จังหวัดระยอง พื้นที่
                  3,000 ไร่ และบริเวณอุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ อ าเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ครอบคลุมพื้นที่ 120 ไร่

                  เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมและชุมชนด้วยการพัฒนาวิจัยและนวัตกรรมเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและ
                  นวัตกรรมดิจิทัล (Digital Park Thailand: EECd) ตั้งอยู่ที่ อ าเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี บนพื้นที่ 709 ไร่
                  เพื่อขยายและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลรองรับการเป็นศูนย์กลางข้อมูล (Data Hub) ของอาเซียน
                  นิคมอุตสาหกรรม Smart Park อยู่ที่จังหวัดระยอง ครอบคลุมพื้นที่ 1,466 ไร่ และนิคมอุตสาหกรรม

                  เหมราช อีสเทิร์นซีบอร์ด 4 อยู่ที่ จังหวัดระยอง ครอบคลุมพื้นที่ 1,900 ไร่ โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเล
                  ตะวันออก (Eastern Seaboard : ESB) และโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic
                  Corridor: EEC) เป็นแผนงานพัฒนาระบบอุตสาหกรรมใน Thailand 4.0
                             การท าเหมืองแร่ คือ การสกัดเอาแร่ที่มีค่า หรือ วัสดุทางธรณีวิทยาอื่นๆ จากใต้ผืนแผ่นดิน

                  ปกติขุดที่ตัวแหล่งแร่หรือสายแร่ที่อยู่ใต้ดิน วัสดุทั่วไปที่สกัดได้ แร่โลหะ ได้แก่บอกไซต์ (ส าหรับหลอมเป็น
                  อะลูมิเนียม) ทองแดง เหล็ก ทองค า ตะกั่ว แมงกานีส แมกนิเซียม นิเกิล ฟอสเฟต แพลทินัม เงิน ดีบุก
                  ไททาเนียม ยูเรเนียม สังกะสี แร่อโลหะ เช่น เกลือหิน ถ่านหินและ แร่รัตนชาติ เช่น เพชร พลอย วัสดุมีค่าอื่นๆ
                  ที่มีการท าเหมืองเช่นกันได้แก่ ดินเหนียว ดินขาว ทราย กรวด หินแกรนิต หินปูนและหินอ่อน วัสดุอื่นใดที่

                  ไม่สามารถผลิตจากพืชจะมาจากการท าเหมือง การท าเหมืองในความหมายที่กว้าง รวมถึงการขุดเจาะน้ ามัน
                  ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ หรือแม้แต่น้ า อุตสาหกรรมเหมืองแร่ เป็นอุตสาหกรรมที่ส าคัญของประเทศไทย
                  เพราะหากเราไม่มีการน าทรัพยากรในประเทศมาใช้ประโยชน์ จะต้องมีการน าเข้าแร่จากต่างประเทศซึ่งจะท า

                  ให้เกิดการเสียดุลด้านการค้า หากมีการท าเหมืองแร่ในประเทศ เพื่อผลิตแร่ที่ส าคัญมาใช้ประโยชน์จะเป็น
                  การท าให้ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านวัตถุดิบส าหรับภาคอุตสาหกรรมต่อไป  เป็นอุตสาหกรรมพื้นฐาน
                  ที่มีมาแต่โบราณ มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาตามยุคสมัย มีการน าเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม
                  สอดคล้องกับสถานการณ์ ขณะเดียวกันก็ได้รับผลกระทบจากปัจจัยทั้งภายนอกและภายใน ท าให้สภาพ
                  ของอุตสาหกรรมเหมืองแร่ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ทั้งด้านบวกและด้านลบ
   182   183   184   185   186   187   188   189   190   191   192