Page 191 - Land Use Plan of Thailand
P. 191

6-29





                  หรือเศรษฐกิจยั่งยืน (Sustainable Economic Development) ที่เน้นในด้านการผลิตและการบริโภค

                  สินค้าและบริการ เพื่อที่จะเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับมนุษยชาติและส่งเสริมกับเกิดความเป็นธรรมในทาง
                  สังคม ในขณะเดียวกับที่มีการลดผลกระทบและความสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการบริโภคหรือการผลิตใดๆ
                  ที่ส่งผลต่อสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศวิทยา หรือกล่าวคือการผลิตและบริโภคที่ระดับ

                  คาร์บอนไดออกไซด์ต่ า มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และการมีส่วนร่วม
                  ของภาคสังคมโดยสองเสาหลักของอุตสาหกรรมสีเขียวประกอบไปด้วย
                             การสร้างอุตสาหกรรมสีเขียวใหม่ (Creating the new Green Industry)การส่งเสริมและ
                  สร้างเทคโนโลยีสีเขียว อาทิ แผงวงจรแสงอาทิตย์ กังหันพลังงานลม โรงงานแยกและก าจัดขยะการ
                  ส่งเสริมและสร้างการผลิตเพื่อตอบสนองต่อตลาดภายในและการค้าระหว่างประเทศการส่งเสริมและ

                  สร้างอุตสาหกรรมสีเขียวใหม่รวมไปถึงการผลิตสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรมสีเขียว
                  อาทิการให้ค าปรึกษาด้านการประหยัดหลังงานของภาคอุตสาหกรรม ฐานข้อมูลสารเคมี ฯลฯ


                        6.3.5  เขตที่ราชพัสดุ กรมธนารักษ์ (ม.ป.ป.) ได้ให้นิยามของที่ราชพัสดุคือ ที่ดินของแผ่นดิน หรือ
                  อสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาลไทย กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ การเก็บรักษาเอกสารสิทธิ์และการ
                  จัดท าทะเบียน กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เป็นผู้เก็บรักษาต้นฉบับเอกสารสิทธิ์และจัดท าทะเบียน

                  อสังหาริมทรัพย์ การใช้การปกครอง ดูแล บ ารุงรักษา ให้ส่วนราชการที่ได้รับมอบอ านาจจาก
                  กระทรวงการคลัง เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ ที่ราชพัสดุมีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในทางราชการต่างๆ รวมทั้ง
                  ทางด้านการทหารเพื่อความมั่นคงของประเทศ แต่ถ้าที่ราชพัสดุแปลงใดไม่ได้ใช้ประโยชน์ในทางราชการ
                  หรือไม่ได้สงวนไว้เพื่อประโยชน์ในราชการกรมธนารักษ์จะน ามาจัดหาประโยชน์โดยการจัดให้เช่าหรือ โดย

                  วิธีการจัดท าสัญญาต่างตอบแทนอื่น ส าหรับการจัดหาประโยชน์ ขึ้นอยู่กับสภาพท าเลของที่ราชพัสดุ โดย
                  ค านึงถึงประโยชน์สูงสุดทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นส าคัญที่ราชพัสดุที่ขึ้นทะเบียนมีพื้นที่
                  8,239,599 ไร่ หรือร้อยละ 2.57 ของพื้นที่ประเทศไทย (กรมธนารักษ์, 2561)

                               กรมธนารักษ์ได้ก าหนดเป้าหมายของการบริหารที่ราชพัสดุโดยมุ่งประโยชน์ทั้งในระดับ
                  รากหญ้าและระดับมหภาค 4 ข้อ คือ
                               1.  เพื่อการกระจายความเจริญสู่ท้องถิ่น
                                   จากการที่มีที่ราชพัสดุกระจายทั่วประเทศ ย่อมท าให้กรมธนารักษ์สามารถใช้ที่ดิน
                  เพื่อรองรับกลุ่มชุมชนในทุกระดับได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป้าหมายหลักก็คือประชาชนมีความเป็นอยู่ในการ

                  ด ารงชีวิตที่ดีขึ้น
                               2.  เพื่อสร้างความเข้มแข็งของสังคมในระดับฐานราก
                                   กรมธนารักษ์สามารถใช้ที่ดิน เพื่อให้เป็นที่ท ากิจกรรมร่วมกันของสังคม เช่น

                  สวนสาธารณะ ตามแหล่งชุมชนต่าง ๆ ซึ่งมีบทบาทส าคัญในการสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งให้กับ
                  สังคมไทยในระดับฐานราก หรือการจัดให้ผู้มีรายได้น้อยเช่าที่ดินเพื่ออยู่อาศัย เป็นต้น ซึ่งประโยชน์ที่
                  ได้รับมีคุณค่าที่ไม่อาจจะประเมินราคาเป็นตัวเงินได้
   186   187   188   189   190   191   192   193   194   195   196