Page 190 - Land Use Plan of Thailand
P. 190

6-28





                               แนวทางในการพัฒนา

                               พื้นที่อุตสาหกรรม ปัญหาภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา
                  ท าให้หลายประเทศให้ความส าคัญต่อการลดผลกระทบที่เกิดขึ้น ซึ่งกว่าร้อยละ 90 มาจากก๊าซเรือนกระจก
                  จากการใช้พลังงานถ่านหินและฟอสซิล รวมทั้งการท าลายป่าไม้ซึ่งเป็นแหล่งสร้างสมดุลตามธรรมชาติ

                  ที่ส าคัญที่สุด โดยในความร่วมมือระหว่างประเทศ ขององค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ
                  UNIDO (United Nations Industrial Development Organization) ได้ออก Green Industry เพื่อ
                  ช่วยเหลือประเทศที่ก าลังพัฒนาให้มีความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ โดยการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้
                  ทรัพยากรและใช้แหล่งพลังงานคาร์บอนต่ าเป็นการสร้างงานใหม่ในขณะที่ยังคงรักษาสิ่งแวดล้อมช่วยให้
                  เข้าถึงเทคโนโลยีสะอาด รวมทั้งน าข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติ โดยให้ความช่วยเหลือสนับสนุน

                  ด้านเทคนิคและผู้เชี่ยวชาญ เพื่อส่งเสริมรูปแบบการผลิตที่น าไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ประเทศ
                  สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่มีการใช้พลังงานมากที่สุดได้มีมาตรการชื่อ UCS Blueprint 2030 ที่เน้น
                  การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน หรือ Energy efficiency ส าหรับอาคารบ้านเรือน สถาน

                  ประกอบการธุรกิจ และโรงงาน โดยตั้งเป้าที่จะยุติการใช้แหล่งพลังงานจากฟอสซิลลงในปี 2030 และใช้
                  พลังงานหมุนเวียนทดแทน ส่วนกลุ่มสหภาพยุโรปหรือ EU ก็ได้ออกมาตรการที่เรียกว่า EMC Factory
                  เพื่อลดการใช้ทรัพยากรลงในขณะที่ยังคงไว้ซึ่งการเติบโตทางเศรษฐกิจและเพิ่มการจ้างงาน โดยมุ่งเน้นที่
                  การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและทรัพยากรในการผลิตยานยนต์ รถไฟและเครื่องบิน โดยการ

                  พัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้ในกระบวนการผลิต และการออกแบบและบริหารจัดการโรงงานสีเขียวดังนั้น จึง
                  เป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องดูแลสิ่งแวดล้อมกัน และกระทรวงอุตสาหกรรมเอง ก็พยายามที่จะน าร่อง
                  หลายๆ โครงการด้วยกัน รวมถึง โครงการอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) อุตสาหกรรมต้องมี
                  ความสอดคล้องกับศักยภาพ และความเป็นไปได้ของระบบนิเวศ รวมทั้งความผาสุกของสังคม

                  ตัวอย่างเช่น การอนุรักษ์พลังงานในกระบวนการ ผลิต การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าโดยใช้หลัก 3Rs และ
                  Clean Technology การพัฒนาผลิตภาพการผลิต (Green Productivity) การออกแบบผลิตภัณฑ์รักษ์
                  สิ่งแวดล้อม (Eco Design – Eco Product) การให้การรับรองผลิตภัณฑ์ ฉลากเขียว (Green Label
                  หรือ Eco-Label) การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (LCI-LCA) การลดมลพิษ และ

                  การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นต้น ซึ่งโครงการต่างๆเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการด าเนินงาน
                  เชิงรุกด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ผู้ประกอบการสามารถเข้าร่วมได้ เพื่อ
                  พัฒนาให้การประกอบกิจการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น

                             อุตสาหกรรมสีเขียวมีนิยามที่หลากหลายตามแต่องค์กรหรือหน่วยงานที่น ามาปฏิบัติ
                  ออกนโยบาย หรือออกใบรับรอง และตามแต่ขอบเขตและความสนใจของแต่ละองค์กร อาทิในระดับประเทศ
                  กระทรวงอุตสาหกรรมไทยได้นิยามว่าอุตสาหกรรมสีเขียวคือ อุตสาหกรรมที่ยึดมั่นในการประกอบ
                  กิจการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการมุ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิตและ
                  การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนือง พร้อมกับการประกอบกิจการด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมทั้ง

                  ภายในและภายนอกองค์กรตลอดห่วงโซ่อุปทานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในขณะที่ส านักงาน
                  สิ่งแวดล้อม องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UN Industrial Development
                  Organization – UNIDO) ได้ให้นิยามของอุตสาหกรรมสีเขียวที่กว้างและครอบคลุมไปถึง เศรษฐกิจสีเขียว

                  (Green Economy) โดยระบุว่าอุตสาหกรรม สีเขียวเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว
   185   186   187   188   189   190   191   192   193   194   195