Page 186 - Land Use Plan of Thailand
P. 186

6-24





                        6.3.4 เขตอุตสาหกรรม

                             อุตสาหกรรม (Industry) คือ กระบวนการแปรรูป หรือการผลิตสิ่งของจากวัตถุดิบให้เป็น
                  วัสดุใหม่ เพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์ โดยการใช้เครื่องจักรหรือแรงคน เพื่อให้ผลิตได้ครั้งละ
                  มากๆ จนสามารถน าไปขายเป็นสินค้าได้

                             อุตสาหกรรมโรงงาน คืออุตสาหกรรมที่ผลิตในโรงงาน สินค้ามักมีมาตรฐานเดียวกัน
                  ไม่แตกต่างกันมากนัก พบมากในเขตเมืองหรือเขตที่มีความเจริญต่างๆ สินค้าพวกนี้มักเป็นสิ่งอุปโภค
                  บริโภคและสินค้าฟุ่มเฟือยต่างๆ เช่นกระดาษทิชชู บะหมี่กึ่งส าเร็จรูป อาหารกระป๋อง เครื่องนุ่งห่ม สุรา
                  บุหรี่ เป็นต้น และสินค้าบางประเภทมีการโฆษณาส่งเสริมการขาย
                             นิคมอุตสาหกรรม หมายถึง เขตพื้นที่ดินซึ่งจัดสรรไว้ส าหรับโรงงานอุตสาหกรรมเข้าไปอยู่

                  รวมกันอย่างเป็นสัดส่วน ประกอบด้วย พื้นที่อุตสาหกรรม สิ่งอ านวยความสะดวก สาธารณูปโภค
                  และสาธารณูปการ เช่น ถนน ท่อระบายน้ า โรงก าจัดน้ าเสียส่วนกลาง ระบบป้องกันน้ าท่วม ไฟฟ้า
                  น้ าประปา โทรศัพท์ นอกจากนั้นยังประกอบด้วยบริการอื่นที่จ าเป็น อาทิ ที่ท าการไปรษณีย์โทรเลข

                  ธนาคาร ศูนย์การค้า ที่พักอาศัยส าหรับคนงาน สถานีบริการน้ ามัน เป็นต้นปัจจุบัน การนิคม
                  อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) มีนิคมอุตสาหกรรมที่เปิดด าเนินการแล้ว 59 นิคม กระจายอยู่ใน
                  18 จังหวัด ประกอบด้วย นิคมอุตสาหกรรมที่ กนอ.ด าเนินการเอง จ านวน 11 นิคม และนิคม
                  อุตสาหกรรมที่ร่วมด าเนินงานกับผู้พัฒนา จ านวน 48 นิคม

                             นโยบายส าคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรม ได้แก่
                             1)  เขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zones: SEZ)เขตพัฒนาเศรษฐกิจ
                  พิเศษ (Special Economic Zones: SEZs) ตั้งอยู่ในพื้นที่ชายแดนจ านวน 10 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ 90
                  ต าบล  23 อ าเภอ 10 จังหวัด รวมพื้นที่ 6,220.05 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,887,507.21 ไร่ เขตพัฒนา

                  เศรษฐกิจพิเศษได้ประกาศพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้ประกาศครั้งที่ 1ตาม
                  ประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ฉบับที่ 1/2558 เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2558
                  ได้ก าหนดพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษใน 5 จังหวัดได้แก่ ตาก มุกดาหาร ตราด สระแก้ว และสงขลา ซึ่ง
                  ครอบคลุม 36 ต าบล 10 อ าเภอ รวมพื้นที่ 2,932 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,832,480 ไร่ โดยมีรายละเอียด

                  ดังนี้(1) ตาก (14 ต าบล 3 อ าเภอ) รวมพื้นที่ 1,419 ตารางกิโลเมตร หรือ 886,875 ไร่(2) มุกดาหาร (11
                  ต าบล 3 อ าเภอ) รวมพื้นที่ 578.5 ตารางกิโลเมตร หรือ 361,542.5 ไร่ (3) ตราด (3 ต าบล 1 อ าเภอ) รวม
                  พื้นที่ 50.2 ตารางกิโลเมตร หรือ 31,375 ไร่(4) สระแก้ว (4 ต าบล 2 อ าเภอ) รวมพื้นที่ 332 ตารางกิโลเมตร

                  หรือ 207,500 ไร่(5) สงขลา (4 ต าบล 1 อ าเภอ) รวมพื้นที่ 552.3 ตารางกิโลเมตร หรือ 345,187.5 ไร่ประกาศ
                  ครั้งที่ 2ตามประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ฉบับที่ 2/2558 เมื่อวันที่ 24
                  เมษายน 2558 ได้ก าหนดพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเพิ่มเติมใน 5 จังหวัด ได้แก่ หนองคาย นราธิวาส
                  เชียงราย นครพนม และ กาญจนบุรี ซึ่งครอบคลุม 54 ต าบล 13 อ าเภอ รวมพื้นที่ 3,288.05 ตาราง
                  กิโลเมตร หรือ 2,055,027.2 ไร่ โดยมีรายละเอียด ดังนี้(6) หนองคาย (13 ต าบล 2 อ าเภอ) รวมพื้นที่

                  473.67 ตารางกิโลเมตร หรือ 296,042 ไร่(7) นราธิวาส (5 ต าบล 5 อ าเภอ) รวมพื้นที่ 235.17 ตาราง
                  กิโลเมตร หรือ 146,981.25 ไร่(8) เชียงราย (21 ต าบล 3 อ าเภอ) รวม.79 ตารางกิโลเมตร หรือ
                  496,743.75 ไร่(9) นครพนม (13 ต าบล 2 อ าเภอ) รวม74.79 ตารางกิโลเมตร หรือ 495,743.75 ไร่

                  (10) กาญจนบุรี (2 ต าบล 1 อ าเภอ) รวมพื้นที่ 260.79 ตารางกิโลเมตร หรือ 162,993.75 ไร่
   181   182   183   184   185   186   187   188   189   190   191