Page 167 - Land Use Plan of Thailand
P. 167

6-5







                  6.2  การจัดท าแผนการใช้ที่ดินตามระบบของ FAO

                        การด าเนินการจัดท าแผนการใช้ที่ดินของประเทศไทย ได้ด าเนินการตามกรอบการท างาน

                  ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) Guidelines for Land-Use Planning ซึ่งเป็น
                  แนวทางในการวิเคราะห์ประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้องทางด้านกายภาพ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม
                  และการใช้ที่ดินในรูปแบบต่างๆ อย่างเป็นระบบ เพื่อช่วยเหลือสนับสนุนให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนได้ส่วนเสีย
                  ในการใช้ประโยชน์ที่ดิน มีทางเลือกที่เหมาะสมเกิดประโยชน์สูงสุด และตอบสนองความต้องการของ
                  สังคมอย่างยั่งยืน (FAO, 1993)

                        ส าหรับขั้นตอนและกระบวนการในการสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อวางแผนการใช้ที่ดิน ได้ประยุกต์ใช้
                  ระบบของ FAO 1993 โดยมีขั้นตอนการด าเนินงานดังนี้ (รูปที่ 6-2)

                  ขั้นตอนที่ 1ก าหนดเป้าหมายการวางแผนการใช้ที่ดิน
                        เป็นการก าหนดสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลส าเร็จเช่น ก าหนดพื้นที่ศึกษา ก าหนดข้อมูลที่ใช้ ผู้มีส่วนได้

                  ส่วนเสีย รูปแบบของแผนการใช้ที่ดิน ระดับของแผนการใช้ที่ดิน และเป้าหมายของแผนการใช้ที่ดิน
                  ในการด าเนินการครั้งนี้ได้ก าหนดเป้าหมายคือ แผนการใช้ที่ดินของชาติที่มีความสอดคล้องเหมาะสม
                  กับศักยภาพของพื้นที่และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
                  ขั้นตอนที่ 2 ก าหนดกรอบและวางแผนการด าเนินงาน

                        เป็นการจัดการโครงการ (Project planning) โดยการก าหนดกิจกรรม ปริมาณงาน ทรัพยากรที่ใช้
                  ผู้รับผิดชอบ และประมาณระยะเวลาในการด าเนินงาน ในการด าเนินการวางแผนการใช้ที่ดินประเทศไทย
                  ครั้งนี้ โดยกองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน ซึ่งมีระยะเวลาตั้งแต่ เมษายน 2560 ถึง กันยายน 2562
                  ขั้นตอนที่ 3 วิเคราะห์สถานการณ์ และปัญหาการใช้ที่ดินปัจจุบัน

                        ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ส าคัญเพื่อที่จะประเมินสถานการณ์ และชี้ปัญหาในการใช้ที่ดินของ
                  ประเทศไทย จ าเป็นต้องรวบรวม ศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลส าคัญที่เกี่ยวข้องเช่น ข้อมูลประชากร
                  ความต้องการใช้ที่ดินและแนวโน้ม ข้อมูลทรัพยากรดิน น้ า ป่าไม้ ข้อมูลการใช้ที่ดิน ประเภทการใช้ที่ดิน

                  ผลผลิต รายได้และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ DPSIR Framework เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน
                  สถานการณ์ และชี้ปัญหาในการใช้ที่ดิน เพื่อน าไปสู่การก าหนดแผนการใช้ที่ดิน
                  ขั้นตอนที่ 4 ระบุโอกาสในการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
                        จากสถานการณ์และปัญหาการใช้ที่ดินที่ได้จากการวิเคราะห์ในขั้นตอนก่อนหน้า จะน ามาสู่
                  การพิจารณาหาแนวทางแก้ไขที่สมเหตุสมผล เพื่อน ามาก าหนดโอกาสทางเลือกที่เหมาะสมเพื่อการ

                  เปลี่ยนแปลงในอนาคต ทั้งนี้การรับฟังและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นขั้นตอนที่จะท าให้
                  ได้ทางเลือกต่างๆ ที่เหมาะสมและเป็นไปได้
                  ขั้นตอนที่ 5 ประเมินความเหมาะสมของที่ดิน

                        ในขั้นตอนนี้ด าเนินการเพื่อให้สามารถก าหนดได้ว่ากิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท
                  ควรด าเนินการในพื้นที่ใหนจะเหมาะสมมากที่สุด และหน่วยที่ดินที่แตกต่างกันแต่ละหน่วยที่ดิน
                  สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินท าอะไรจึงจะเหมาะสมมากที่สุด การประเมินความเหมาะสมของที่ดินใช้การจ าแนก
                  ชั้นความเหมาะสมของที่ดิน (Land Suitability Classification) ตามกรอบคู่มือ A Framework for
   162   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172