Page 163 - Land Use Plan of Thailand
P. 163

6-1





                                                         บทที่ 6

                                             แผนการใช้ที่ดินของประเทศไทย

                        สาระส าคัญของบทนี้มี 3 ประเด็น คือ (1) การปริทัศน์และการวิเคราะห์ใช้ระบบ DPSIR

                  (2) การจัดท าแผนการใช้ที่ดินตามระบบของ FAO (3) แผนการใช้ที่ดิน

                  6.1  การปริทัศน์และการวิเคราะห์ใช้ระบบ DPSIR

                        การวางแผนการใช้ที่ดิน เป็นการวิเคราะห์และประเมินข้อมูลทางกายภาพและ ทางเศรษฐกิจสังคม
                  อย่างเป็นระบบ เพื่อก าหนดวิธีการหรือคาดการณ์การใช้พื้นที่ไว้ล่วงหน้าส าหรับเป็นแนวทางการใช้ประโยชน์

                  ที่ดินและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการของชุมชน สร้างความมั่นคงต่อชีวิตเกษตรกร
                  ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงทางสังคมในการน าไปสู่การพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน
                        เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์และประเมินข้อมูลเพื่อช่วยในการตัดสินในการวางแผนการใช้ที่ดิน
                  ส าหรับก าหนดทิศทางและแนวทางการด าเนินงาน ตลอดจนการก าหนดนโยบายเกี่ยวกับการใช้ที่ดินของ

                  ประเทศไทยได้ใช้กรอบแนวคิด DPSIR(Driver-Pressure-State-Impact-Responses) กรอบแนวคิดนี้
                  ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาใช้ในการวิเคราะห์ภาพรวมของผลกระทบสิ่งแวดล้อมในระดับประเทศและระดับ
                  นานาชาติ โดยมีการใช้อย่างแพร่หลาย (Kristensen, 2004)

                        กรอบแนวคิด DPSIR มีสาระส าคัญคือกิจกรรมของมนุษย์เป็นตัวขับเคลื่อนการสร้างภาวะกดดัน
                  แก่สิ่งแวดล้อม (Pressure) ส่งผลให้สถานภาพของการใช้ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                  เปลี่ยนแปลงไป (State) การใช้ประโยชนที่ดิน ทรัพยากรดิน สภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
                  จึงถูกน ามาใช้ประกอบการตัดสินใจเพื่อก าหนดนโยบายหรือมาตรการในการตอบสนองปัญหา
                  (Response) ลดผลกระทบ ตลอดจนป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

                  แรงขับเคลื่อน (D-Driver)
                        การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่จะมีผลกระทบกับแรงกดดัน (Pressure) ตัวขับเคลื่อนเป็นสิ่งที่
                  สามารถวัดได้ในเชิงปริมาณหรือตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ แรงขับเคลื่อนที่มีอิทธิพลมาก เช่น นโยบายชาติ

                  แผนยุทธศาสตร์ชาติ โลกาภิวัตน์ ค่านิยม วิถีชีวิต
                  แรงกดดัน (P-Pressure)
                        ปัจจัยหรือกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์และเป็นสาเหตุท าให้การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
                  เปลี่ยนแปลงไป เช่น การเกษตรกรรม การอุตสาหกรรม การคมนาคมขนส่ง การใช้พลังงาน

                  ความหนาแน่นของประชากร อัตราการขยายตัวของรายได้ ตัวแปรเหล่านี้เป็นหนึ่งในตัวแปรที่เป็นแรงกดดัน
                  ต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน
                  สภาวะ (S-State)
                        สภาวะหรือสภาพแวดล้อมที่สนใจและอยู่ในขอบเขตหน้าที่และต้องการแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น

                  ใช้อธิบายการเปลี่ยนไปของปัจจัย เช่น การพัฒนาพื้นที่เกษตรกรรมที่มีจ ากัดให้เกิดประโยชน์สูงขึ้น
                  การปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม การฟื้นฟูรักษาการพังทลายของหน้าดิน รวมถึงการอนุรักษ์
                  ดินและน้ าเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศและทรัพยากร
   158   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168