Page 170 - Land Use Plan of Thailand
P. 170

6-8





                  และการใช้ DPSIR Framework ร่วมในการวิเคราะห์จัดท าเพื่อให้แผนการใช้ที่ดินที่ก าหนดขึ้นสามารถ
                  น าไปใช้เป็นกรอบก าหนดแนวทางจัดการพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป


                  6.3  แผนการใช้ที่ดิน

                        แผนการใช้ที่ดินของประเทศไทยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นกรอบแนวทางในการใช้ที่ดินให้มี
                  ประสิทธิภาพและยั่งยืน สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ-สังคม รวมทั้งการอนุรักษ์ จัดสรรทรัพยากรที่ดี

                  และเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด สามารถน าไปใช้ในการก าหนดนโยบายการใช้ที่ดินและ
                  ทรัพยากรที่ดินในภาพรวมของประเทศสู่ระดับจังหวัด และระดับต าบล ตามแผนการปฏิรูปประเทศได้
                  ต่อไป แผนการใช้ที่ดินของประเทศไทยได้ก าหนดเป็นเขตการใช้ที่ดิน 8 เขตดังนี้

                        6.3.1  เขตป่าไม้ มีพื้นที่ 135,085,480 ไร่ หรือร้อยละ 42.12 ของพื้นที่ประเทศไทยเมื่อ
                  พิจารณาเป้าหมาย สภาพปัญหาในพื้นที่ป่าไม้ ตลอดจนวัตถุประสงค์ของนโยบาย ยุทธศาสตร์

                  แนวทางการด าเนินงาน มาตรการการใช้ประโยชน์ทรัพยากรในพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี
                  แผนแม่บท แผนพัฒนาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรป่าไม้แล้ว จึงก าหนดเขตป่าไม้ออกเป็น 3 เขต คือ
                               1.1  เขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ มีพื้นที่ 110,573,858 ไร่ หรือร้อยละ 34.47 ของพื้นที่ประเทศ
                  ไทย ประกอบด้วยเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติ เขตห้ามล่าสัตว์ป่า ป่าสงวนแห่งชาติ (โซน C)

                  วนอุทยาน สวนรุกขชาติ สวนพฤกษศาสตร์ เขตอนุรักษ์ป่าชายเลนตามมติคณะรัฐมนตรี พื้นที่ลุ่มน้ าชั้นที่ 1
                  และชั้นที่ 2 ก าหนดเป็น 3 เขตย่อย คือ
                                   1.1.1  เขตคุ้มครองสภาพป่า มีพื้นที่ 86,215,739 ไร่ หรือร้อยละ 26.88
                  ของพื้นที่ประเทศไทย สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบันเป็นป่าสมบูรณ์ทั้งหมด

                                       แนวทางการพัฒนา
                                       1) ป้องกันและคุ้มครองพื้นที่ป่าไม้ที่เหลือให้คงอยู่และยั่งยืนอย่างเข้มงวด
                                       2) จัดท าแนวเขตทรัพยากรป่าไม้ทุกประเภทให้เป็นแนวเดียวที่ชัดเจนบน
                  พื้นฐานการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชนในพื้นที่

                                       3) เพิ่มศักยภาพในการป้องกันและควบคุมไฟป่า
                                       4) บูรณาการความร่วมมือและส่งเสริมการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ
                  เอกชน และชุมชนในพื้นที่ ในการปฏิบัติงานป้องกันรักษาพื้นที่ป่าไม้ สนับสนุนการสร้างเครือข่ายแนวร่วม

                  ป่าไม้ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ที่เข้มแข็งทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน
                                       5) ส่งเสริม สนับสนุนประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรม ความเชื่อ
                  ด้านการอนุรักษ์ในการบริหารจัดการพื้นที่ป่าไม้
                                       6) พัฒนาและสร้างความเข้มแข็งของระบบสารสนเทศป่าไม้ เพื่อจัดท า

                  ฐานข้อมูลทรัพยากรป่าไม้ให้เกิดประสิทธิภาพ และเป็นมาตรฐานเดียวกัน สามารถติดตามตรวจสอบ
                  พื้นที่ ป่าไม้ได้อย่างถูกต้อง เป็นปัจจุบัน เชื่อมโยงฐานข้อมูลป่าไม้กับทรัพยากรอื่นๆ เช่น ทรัพยากรดิน
                  ทรัพยากรน้ า ธรณีวิทยา ข้อมูลประชากร ข้อมูลเศรษฐกิจและสังคม โดยบูรณาการความร่วมมือกับ
                  หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

                                       7) สร้างจิตส านึกและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนรู้จักประโยชน์ คุณค่าของทรัพยากร
                  ป่าไม้ ให้เกิดความหวงแหน ต้องการมีส่วนร่วมในการป้องกันรักษาพื้นที่ป่าไม้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
   165   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175