Page 171 - Land Use Plan of Thailand
P. 171

6-9





                                       8) ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพื่อน าค่าธรรมเนียมมาใช้ในการจัดการ

                  พื้นที่ป่าอนุรักษ์ และเป็นทุนสนับสนุนงานวิจัยด้านป่าไม้ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน
                                       9) ปรับปรุง แก้ไขการก าหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ า เพิ่มประสิทธิภาพการน า
                  นโยบายการก าหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ ามาใช้เป็นเครื่องมือประกอบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ

                  สิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่ และด าเนินการให้สอดคล้องกับข้อเสนอ มาตรการการใช้ที่ดินในเขตชั้น
                  คุณภาพลุ่มน้ าอย่างเคร่งครัดเพื่ออนุรักษ์ระบบนิเวศป่าไม้ และรักษาสมดุลของระบบนิเวศลุ่มน้ า โดยให้
                  ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วม
                                   1.1.2  เขตฟื้นฟูสภาพป่า มีพื้นที่ 2,894,140 ไร่ หรือร้อยละ 0.90 ของพื้นที่
                  ประเทศไทย สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบันเป็นป่าเสื่อมโทรมรอสภาพฟื้นฟู พื้นที่ในเขตนี้มี

                  ลักษณะเช่นเดียวกับเขตคุ้มครองสภาพป่าในอดีต แต่มีสภาพป่าเสื่อมโทรมรอการฟื้นฟู ถ้าไม่มีการ
                  รบกวนพื้นที่ สภาพป่าเสื่อมโทรมสามารถฟื้นตัวขึ้นเป็นป่าสมบูรณ์ได้อีกครั้งตามธรรมชาติ เป็นการปลูก
                  ป่าโดยไม่ต้องปลูกการปล่อยให้ป่าไม้เกิดความเสื่อมโทรม นับเป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดวิกฤตใน

                  พื้นที่ เนื่องจากมีการชะล้างพังทลายของหน้าดินที่เป็นส่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์ออกไป หน้าดินที่ถูก
                  ชะล้างตกลงไปเป็นตะกอนตามแหล่งน้ าต่างๆ ก่อให้เกิดการตื้นเขินของแหล่งน้ า เกิดอุทกภัยในฤดูฝน เกิด
                  ความแห้งแล้งในฤดูแล้ง
                                       แนวทางการพัฒนา

                                       1) เร่งฟื้นฟูสภาพป่าเสื่อมโทรมให้เป็นป่าสมบูรณ์อย่างมีประสิทธิภาพและ
                  ประสิทธิผล โดยปรับปรุงแนวทางการประเมินและจ าแนกเขตป่าเสื่อมโทรมให้เหมาะสม ส ารวจ จ าแนก
                  และปรับปรุงฐานข้อมูลป่าเสื่อมโทรมตามสภาพปัญหาและหลักวิชาการ เพื่อให้การฟื้นฟูสภาพป่าเป็นไป
                  อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง รวดเร็ว

                                       2) จัดท าฐานข้อมูลการฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม ก าหนดพื้นที่เป้าหมายเป็นแผน
                  ระยะยาว เพื่อให้การการฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมมีความต่อเนื่อง
                                       3) ส่งเสริมและสนับสนุนทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม
                  เช่น ชุมชนท้องถิ่น ภาคเอกชนที่ด าเนินกิจกรรมเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social

                  Responsibility; CSR)
                                   1.1.3  เขตฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติภายใต้เงื่อนไข มีพื้นที่ 21,463,979 ไร่ หรือ
                  ร้อยละ 6.69 ของพื้นที่ประเทศไทย เป็นพื้นที่เป้าหมายแรก ในการเร่งรัดฟื้นฟู และเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ให้ได้

                  ร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศไทย เนื่องจากเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินที่ไม่เหมาะสม จะส่งผลให้
                  เกิดความวิกฤตและผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงในเขตพื้นที่ต้นน้ า และส่งผลกระทบต่อพื้นที่
                  กลางน้ าและพื้นที่ปลายน้ า ซึ่งเป็นพื้นที่ราบ พื้นที่ในเขตนี้มีลักษณะเดียวกับเขตคุ้มครองสภาพป่าในอดีต
                  แต่มีชุมชนอยู่อาศัยและครอบครองที่ดินเพื่อท าการเกษตรจึงเกิดการชะล้างพังทลายของดินอย่างรุนแรง
                  และไม่เหมาะสมต่อการท าการเกษตร ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงเพิ่มขึ้น และอาจ

                  ก่อให้เกิดดินถล่ม การปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตร สร้างความวิกฤตให้กับพื้นที่เพิ่มขึ้นอีก
                  ต้องเร่งด าเนินการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่อย่างเร่งด่วน นอกจากนี้ การใช้ประโยชน์ที่ดิน
                  ทางการเกษตร เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตสูง ผลผลิตต่ า จ าหน่ายผลผลิตได้ในราคาน้อย เกษตรกรจึงขาดทุน

                  ท าให้ต้องบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ต่อไปอย่างไม่จบสิ้น เพื่อเพิ่มพื้นที่ส าหรับการสร้างรายได้ให้เพียงพอ
   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175   176