Page 79 - แผนการใช้ที่ดินเพื่อการผลิตข้าวคุณภาพสูงรายพันธู์ กข43
P. 79

3-37





                  3.5  ศักยภาพ โอกาส และข้อจำกัดในการผลิตและการตลาด

                        ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยมาช้านาน โดยเป็นแหล่งอาหารหลักของคนไทย
                  และยังเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของโลกอีกด้วย ปัจจุบันแนวโน้มด้านการเกษตรของโลกกำลัง

                  เปลี่ยนแปลงไป โดยให้ความสำคัญกับการผลิตอาหารที่ปลอดภัยและยั่งยืนมากขึ้น ข้าวพันธุ์ กข43
                  เป็นข้าวพันธุ์ใหม่ที่มีศักยภาพสูงในการตอบสนองต่อแนวโน้มด้านการเกษตรของโลกดังกล่าว
                  เนื่องจากมีคุณสมบัติพิเศษหลายประการ เช่น มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ช่วยลดความเสี่ยงของ
                                                                                                    ื
                  โรคเบาหวานและโรคหัวใจ อีกทั้งยังมีความทนทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช สามารถปลูกได้ในสภาพพ้นที่
                  และสภาพอากาศที่หลากหลาย
                        ทั้งนี้ข้าวพันธุ์ กข43 เป็นพันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงที่มีคุณสมบัติแตกต่างจากพันธุ์ข้าวไม่ไวต่อ
                                            ั
                  ช่วงแสงโดยทั่วไป เนื่องจากเป็นพนธุ์ข้าวที่มีอมิโลสต่ำ มีค่าการแตกตัวเป็นน้ำตาลน้อยและมีค่าดัชนีน้ำตาล
                                                                                                    ์
                  ระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ คาร์โบไฮเดรตของข้าวมีลักษณะทนต่อการย่อยดีกว่าข้าวอมิโลสต่ำพนธุอื่น
                                                                                                  ั
                  จึงถือเป็นข้าวทางเลือกของผู้ใส่ใจสุขภาพ กลุ่มผู้ป่วยโรคไตและโรคเบาหวานที่มีภาวะอาการไตเรื้อรัง
                  ที่ต้องระมัดระวังในการรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต และยังเหมาะกับกลุ่มผู้บริโภคที่
                  ต้องการรับประทานข้าวที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำแต่ไม่ต้องการรับประทานข้าวกล้อง จากคุณประโยชน์
                  ดังกล่าวทำให้ข้าวพันธุ์ กข43 เป็นที่ต้องการของตลาดค่อนข้างมากเพราะผู้บริโภคให้ความสนใจอาหาร

                  เพื่อสุขภาพมากขึ้นหรือที่เรียกว่ารับประทานอาหารเป็นโอสถ ทำให้ข้าวพันธุ์ กข43 มีผลผลิตไม่พอกับ
                  ความต้องการของตลาด
                                                                                               ั
                        การกำหนดเขตการใช้ที่ดินทางการเกษตรเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการส่งเสริมการผลิตข้าวพนธุ์ กข43
                  ให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืนยิ่งขึ้น โดยสามารถช่วยระบุพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกข้าวพันธุ์ กข43
                  ตลอดจนส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวพันธุ์ กข43 ในพื้นที่ที่เหมาะสม ลดความเสี่ยงของปัญหาการผลิต
                  และส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคง ดังนั้นเพื่อให้การกำหนดเขตการใช้ที่ดินข้าวพันธุ์ กข43
                  เป็นไปอย่างเหมาะสม จึงต้องพิจารณาถึงศักยภาพ โอกาสและข้อจำกัดในการผลิต และการตลาด เพื่อเป็น
                  ข้อมูลในการพิจารณาวางแผนการผลิตโดยใช้จุดแข็งและโอกาสเพื่อเร่งส่งเสริมการขยายการผลิตและ

                                      ื่
                                                                                    ี
                  ใช้จุดอ่อนและข้อจำกัดเพอที่จะปรับปรุงพัฒนาหรือลดกำลังการผลิตลง ดังรายละเอยดผลการศึกษาต่อไปนี้
                        3.5.1 โอกาสในการพัฒนาการผลิตและการตลาดของข้าวพันธุ์ กข43
                             1) จุดแข็ง

                                (1) ข้าวพันธุ์ กข43 เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวสั้น เพียง 95 วัน จึงสามารถ
                  ปลูกได้หลายฤดูและใช้เวลาทำนาน้อยกว่าพันธุ์อื่น ๆ
                                (2) ข้าวพันธุ์ กข43 มีค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index: GI) อยู่ในระดับปานกลาง
                  ค่อนข้างต่ำ เพียง 57.5 เมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์อื่น ๆ เช่น ข้าวพันธุ์ กข15 (GI = 69.1) หรือ

                  ข้าวพิษณุโลก 80 (GI = 59.5) การมีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมแป้งให้เป็นน้ำตาลได้ช้าลง
                                           ุ่
                  ไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดพงสูง เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเบาหวาน ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักและ
                  ผู้ที่รักสุขภาพ
                                (3) ข้าวพันธุ์ กข43 เป็นข้าวที่มีค่าอมิโลสต่ำ (ค่าที่สามารถระบุความนุ่มเหนียว และ

                  ร่วนแข็งของข้าวได้ ค่าอมิโลสยิ่งต่ำ ข้าวยิ่งนุ่ม) อยู่ที่ 18.82 % (ระดับที่เหมาะสมคือ 10-19) ทำให้ข้าวพนธุ์ กข43
                                                                                                ั
                  มีความอ่อนนุ่ม รับประทานง่าย (ใกล้เคียงข้าวขาวดอกมะลิ 105)
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84