Page 80 - แผนการใช้ที่ดินเพื่อการผลิตข้าวคุณภาพสูงรายพันธู์ กข43
P. 80

3-38





                                (4) ข้าวพันธุ์ กข43 เป็นข้าวที่ต้านทานต่อโรคไหม้และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในระดับ

                  ปานกลาง ซึ่งมีส่วนในการลดค่าใช้จ่ายของเกษตรกรในการป้องกันและกำจัดโรคและแมลง
                                (5) เป็นข้าวที่ได้รับการรับรองพันธุ์จากกรมการข้าวและได้รับการส่งเสริมจากหลายหน่วยงาน
                                (6) ข้าวพันธุ์ กข43 เป็นข้าวขาวสายพันธุ์หนึ่งที่มีผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 561

                  กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับปานกลางถึงดีเมื่อเทียบกับข้าวขาวพันธุ์อื่น ๆ โดยทั่วไป เช่น
                  ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่มีผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 363 กิโลกรัมต่อไร่ ข้าวเจ้าหอมอื่น ๆ ที่มีผลผลิตเฉลี่ย
                  อยู่ที่ประมาณ 400-600 กิโลกรัมต่อไร่
                             2) โอกาส
                                (1) ข้าวพันธุ์ กข43 มีโอกาสสูงในการเข้าสู่ตลาดโลก เนื่องจากเป็นสินค้าเกษตรที่มี

                  ศักยภาพสูง มีคุณภาพที่ดีและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในหลายประเทศ อีกทั้งตลาดข้าวโลกมีความ
                  ต้องการเพิ่มขึ้นจากปัจจัยด้านประชากรโลกที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ความต้องการอาหาร
                                                                         ื่
                  เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ประกอบกับปัจจุบันแนวโน้มการบริโภคอาหารเพอสุขภาพกำลังได้รับความนิยมทั่วโลก
                                                                                                    ิ
                  ทั้งนี้ข้อมูลของ Statista ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติเยอรมันที่เชี่ยวชาญด้านข้อมูลตลาดและผู้บริโภคประเมนว่า
                                                                                                ิ่
                                     ื่
                                                     ู
                  ปี 2562 ตลาดอาหารเพอสุขภาพ ทั่วโลกมีมลค่าราว 178,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และอาจเติบโตเพมขึ้นเป็น
                  268,000 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2570 หรือเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 6.7 ต่อปี ในช่วงระหว่างปี 2564-2570
                  โดยเอเชียแปซิฟิกเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่สุด (ญี่ปุ่นและจีน) รองลงมา คือ สหรัฐอเมริกาและยุโรป
                                (2) ประเทศไทยมีศักยภาพในการเป็นผู้ผลิตข้าวชั้นนำของโลก ด้วยปัจจัยหลายประการ
                  เช่น พื้นที่เพาะปลูกข้าวที่อุดมสมบูรณ์ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ มีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการ
                  เพาะปลูกข้าว มีเทคโนโลยีการผลิตข้าวที่ทันสมัย มีการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรเข้ามาช่วยในการผลิตข้าว
                  ทำให้ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตต่อไร่ มีแรงงานภาคการเกษตรที่มีคุณภาพ มีทักษะและ

                  ประสบการณ์ในการเพาะปลูกข้าวสูง เป็นต้น
                                (3) ภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมการผลิตข้าวพันธุ์ กข43 ผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการ
                  ส่งเสริมการผลิตข้าวพันธุ์ กข43 โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวนาปีแบบครบวงจร โครงการส่งเสริมการผลิต
                  ข้าวอินทรีย์ เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับเกษตรกรและผู้บริโภค ส่งเสริมให้

                  เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และลดการพึ่งพาข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่มีผลผลิตต่อไร่ต่ำและเสี่ยงต่อโรคและ
                  แมลงศัตรูพืช การส่งเสริมการผลิตข้าวพันธุ์ กข43 ของภาครัฐนอกจากจะเป็นการส่งเสริมให้
                  เกษตรกรมีทางเลือกในการปลูกข้าวแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นผู้นำการผลิตข้าวพันธุ์

                  คุณภาพสูงที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคอีกด้วย
                        3.5.2 ข้อจำกัดในการพัฒนาการผลิตและการตลาดของข้าวพันธุ์ กข43
                             1) จุดอ่อน
                                (1) ข้าวพันธุ์ กข43 เป็นข้าวที่มีความต้องการใช้น้ำสูง เหมาะกับการปลูกในพื้นที่
                                         ื้
                  นาชลประทาน ถ้าปลูกในพนที่ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการจัดหาและบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธภาพ
                                                                                                   ิ
                  จะทำให้ผลผลิตลดลง
                                (2) ข้าวพันธุ์ กข43 เป็นข้าวที่มีความต้านทานต่อโรคใบไหม้และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
                  ในระดับปานกลาง แต่ถ้าเกิดโรคหรือแมลงระบาดอย่างรุนแรงก็จำเป็นจะต้องใช้สารเคมีป้องกันกำจัด

                  ซึ่งเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตของเกษตรกร
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85