Page 74 - แผนการใช้ที่ดินเพื่อการผลิตข้าวคุณภาพสูงรายพันธู์ กข43
P. 74

3-32








                  3.4  นโยบายและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
                        นโยบายและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพืชเศรษฐกิจมะพร้าวมีทั้งกฎหมาย ยุทธศาสตร์ และ

                  แผนพัฒนาระดับต่าง ๆ ดังนี้
                        1) รัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
                        2) ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580)

                        3) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2566-2580)
                        4) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570)
                        5) แผนปฏิบัติการด้านการเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2566-2570
                        6) นโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ. 2566-2580)

                        7) แผนปฏิบัติราชการ กรมพัฒนาที่ดิน ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570)
                        8) ยุทธศาสตร์ข้าวไทย ปี 2563-2567

                                                                         1
                        1) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
                                                                              ั
                          มาตรา 72 (1) วางแผนการใช้ที่ดินของประเทศไทยเหมาะสมกบสภาพของพื้นที่และศักยภาพ
                  ของที่ดินตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน

                                                          2
                        2) ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580)
                          มียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง 2 ยุทธศาสตร์ ได้แก  ่
                                                                                        ั
                          ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน มีเป้าหมายการพฒนาที่มุ่งเน้นการ
                  ยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ บนพื้นฐานแนวคิด 3 ประการ ได้แก่ (1) “ต่อยอดอดีต”
                  โดยมองกลับไปที่รากเหง้าทางเศรษฐกิจ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และจุดเด่นทาง

                  ทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย รวมทั้งความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของประเทศในด้านอื่น ๆ นำมา
                  ประยุกต์ผสมผสานกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้สอดรับกับบริบทของเศรษฐกิจและสังคมโลก
                  สมัยใหม่  (2) “ปรับปัจจุบัน” เพื่อปูทางสู่อนาคต ผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในมิติต่าง ๆ

                  ทั้งโครงข่ายระบบคมนาคมและขนส่ง โครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และดิจิทัล และการ
                  ปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการอนาคต  และ (3) “สร้างคุณค่าใหม่ใน
                  อนาคต” ด้วยการเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการ พัฒนาคนรุ่นใหม่ รวมถึงปรับรูปแบบธุรกิจ เพื่อตอบสนอง
                  ต่อความต้องการของตลาด ผสมผสานกับยุทธศาสตร์ที่รองรับอนาคต บนพื้นฐานของการต่อยอดอดีต
                  และปรับปัจจุบัน พร้อมทั้งการส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐให้ประเทศไทยสามารถสร้างฐานรายได้

                  และการจ้างงานใหม่ ขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนในเวทีโลก ควบคู่ไปกับการยกระดับรายได้
                  และการกินดีอยู่ดี รวมถึงการเพิ่มขึ้นของคนชั้นกลาง และลดความเหลื่อมล้ำของคนในประเทศได้ใน
                  คราวเดียวกัน






                  1  ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก หน้า 18 วันที่ 6 เมษายน 2560
                  2  ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก หน้า 8 วันที่ 13 ตุลาคม 2561
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79