Page 203 - rubber
P. 203

ผก-15





                            5.3.1  วัชพืชฤดูเดียว เป็นวัชพืชที่ครบวงจรชีวิตภายในฤดูเดียวส่วนมากขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

                                วัชพืชประเภทใบแคบ มีลักษณะที่เห็นได้ชัด คือ ใบจะเรียวยาวเส้นใบจะขนานกัน

                  ระบบรากเป็นรากฝอยไม่มีรากแก้ว ได้แก่ หญ้าตีนนก หญ้าตีนกา หญ้านกสีชมพู หญ้าตีนติด หญ้า
                  ใบไผ่ หญ้ามาเลเซีย หญ้าหวาย

                                วัชพืชประเภทใบกว้าง ลักษณะที่เห็นเด่นชัด คือ เส้นใบแตกเป็นร่างเห ระบบราก

                  มีทั้งรากแก้ว และรากฝอย ได้แก่ หญ้าเขมร สาบแร้งสาบกา หญ้ายาง
                            5.3.2  วัชพืชข้ามปี เป็นวัชพืชที่ส่วนมากขยายพันธุ์ด้วยต้นรากเหง้า หัวและไหล

                  ได้ดีกว่าการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
                                วัชพืชประเภทใบแคบ ได้แก่ หญ้าคา หญ้าขจรจบดอกเหลือง หญ้าแพรก

                                วัชพืชประเภทใบกว้าง ได้แก่ สาบเสือ ขี้ไก่ย่าน

                            5.3.3  เฟิร์น เป็นพืชชั้นต่ าขยายพันธุ์ด้วยสปอร์ ไม่มีดอก ไม่มีเมล็ด ใบอ่อนจะม้วนงอ
                  ล าต้นเป็นเหง้า ได้แก่ ลิเภา โชน ผักกูด ต้นสามร้อยยอด

                            การป้องกันก าจัด ไถและพรวนดินอย่างน้อย 2 ครั้ง ก่อนปลูก เก็บเศษซากวัชพืชออกให้
                  หมดหลังการพรวนดิน ใช้แรงงาน ขุด ถาก ตายหรือตัดวัชพืชที่ขึ้นในแถวยางและควรท าก่อนวัชพืชออกดอก

                  ใช้วัสดุคลุมดินโดยน าวัสดุเหลือใช้ต่าง ๆ เช่น เปลือกถั่วฟางข้าว ซังข้าวโพด หรือกระดาษหนังสือพิมพ์ เป็นต้น

                  คลุมโคนต้นยางเฉพาะต้น หรือตลอดแนวเว้นระยะพอควรไม่ชิดโคนต้นยาง ปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่ว
                  ได้แก่ ห่างจากแถวยางประมาณ 2 เมตร ใช้สารพ่นสารก าจัดวัชพืช


                  6. ค าแนะน าการใช้สารป้องกันก าจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย
                        6.1  การใช้สารป้องกันก าจัดศัตรูพืชอย่างเหมาะสม
                            6.1.1  ตรวจอุปกรณ์เครื่องพ่นอย่าให้มีรอยรั่วเพราะจะท าให้สารพิษเปียกเปื้อนเสื้อผ้า

                  และร่างกายของผู้พ่นได้

                            6.1.2  ต้องสวมเสื้อผ้าและรองเท้าให้มิดชิดรวมทั้งหน้ากากหรือผ้าปิดจมูก และ
                  ศีรษะเพื่อป้องกันอันตรายจากสารพิษ

                            6.1.3  อ่านฉลากค าแนะน าคุณสมบัติและการใช้ก่อนทุกครั้ง
                            6.1.4  ควรพ่นในช่วงเช้าหรือเย็นขณะลมสงบ หลีกเลี่ยงการพ่นในเวลาแดดจัดหรือแมลง

                  และผู้พ่นต้องอยู่เหนือลมตลอดเวลา

                            6.1.5  เตรียมสารป้องกันก าจัดศัตรูพืชให้ใช้หมดในคราวเดียว ไม่ควรเหลือติดค้างในถังพ่น
                            6.1.6 ภาชนะบรรจุสารป้องกันก าจัดศัตรูพืชควรปิดให้สนิทเมื่อเสร็จงาน และเก็บไว้

                  ในที่มิดชิดห่างจากสถานที่ปรุงอาหาร แหล่งน้ าและโรงเก็บต้องล็อกกุญแจตลอดเวลา
                            6.1.7  ภายหลังการพ่นสารป้องกันก าจัดศัตรูพืชทุกครั้ง ผู้พ่นต้องอาบน้ า สระผม และ

                  เปลี่ยนเสื้อผ้าทันที เสื้อผ้าที่เปื้อนสารเคมีต้องซักให้สะอาดทุกครั้ง





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยางพารา                             กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   198   199   200   201   202   203   204   205   206   207   208