Page 200 - rubber
P. 200

ผก-12





                            - ก่อนเข้าช่วงแล้งควรใช้ปูนขาว 1 ส่วน ผสมกับน้ า 2 ส่วน หมักแช่ทิ้งค้างคืน ทาตั้งแต่

                  บริเวณโคนต้น ส่วนที่เป็นสีน้ าตาลสูงขึ้นมาจนถึงส่วนที่เป็นสีน้ าตาลปนเขียวเพื่อป้องกันความรุนแรง

                  ของแสงแดด
                        3.8  การไถพรวนก าจัดวัชพืช
                            - การไถพรวนเพื่อก าจัดวัชพืชระหว่างแถวยาง ไถได้ในช่วงอายุ 2-3 ปี โดยไถลึก 15 เซนติเมตร

                  และห่างจากแถวยางประมาณ 1-1.5 เมตร ควรไถก่อนวัชพืชออกดอก การไถพรวนอาจไถ 2-3 ครั้ง ขึ้นกับชนิด

                  และปริมาณวัชพืช
                        3.9  อาการเปลือกแห้ง

                            - เป็นกับต้นยางที่เปิดกรีดแล้ว หลังจากกรีดยางแล้ว น้ ายางจะแห้งเป็นจุด ๆ อยู่ตามรอยกรีดยาง
                  หยุดกรีดยางประมาณ 6-12 เดือน ต้นยางที่แสดงอาการเปลือกแห้งชั่วคราว จะสามารถกรีดเอาน้ ายาง

                  ได้อีกหลังจากหยุดกรีด

                  4. สุขลักษณะและความสะอาด

                        1) ก าจัดวัชพืชเพื่อไม่ให้แย่งน้ าอาหารของต้นยาง หรือเป็นแหล่งอาศัยของโรค แมลง หรือสัตว์มีพิษอื่น ๆ
                        2) หลังการตัดแต่งกิ่ง ควรน ากิ่งที่ตัดทิ้งออกไปนอกสวนหรือท าลาย

                        3) เศษวัสดุ ภาชนะบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้งานในสวนแล้วควรก าจัด หรือท าลายให้ถูกวิธี
                        4) อุปกรณ์เครื่องใช้ต้องท าความสะอาด และเก็บให้เรียบร้อยหลังการใช้งาน หากช ารุดควร

                  ซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพดี พร้อมจะใช้ปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย

                        5) เก็บรักษาปุ๋ย สารเคมีป้องกันก าจัดศัตรูพืช ไว้ในที่ปลอดภัยห่างไกลจากอาหาร แหล่งน้ า
                  ที่อยู่อาศัยและสัตว์เลี้ยง

                        6) ดูแลรักษาอุปกรณ์เครื่องใช้รวมทั้งโรงเรือนหรือโรงงาน ที่ใช้ในการผลิต แปรรูปยาง ได้แก่
                  มีดกรีดยาง ถังเก็บน้ ายาง ตะกง จักรรีด เครื่องใช้อื่น ๆ จะต้องท าความสะอาดก่อน และหลังการใช้เก็บ

                  ให้เรียบร้อย ซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพดี ใช้ได้อย่างปลอดภัย ตลอดจนการเก็บยางแผ่นเพื่อรอจ าหน่าย

                  อย่างถูกวิธี

                  5. ศัตรูของยางพาราและการป้องกันก าจัด
                        5.1  โรคที่ส าคัญและการป้องกันก าจัด

                            5.1.1  โรคใบร่วงและฝักเน่า
                                สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา

                                ลักษณะอาการ มีใบร่วง ก้านใบช้ าสีด ามีน้ ายางเกาะติดอยู่ ฝักยางจะเน่าด า

                  และไม่แตกร่วงจากต้น
                                การแพร่ระบาด ระบาดมากในพื้นที่ที่มีฝนตกชุก และความชื้นสูง หรือพื้นที่ที่อยู่

                  ภายใต้อิทธิพลลมมรสุม





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยางพารา                             กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   195   196   197   198   199   200   201   202   203   204   205