Page 184 - rubber
P. 184

4-90





                          เมื่อน ามาวิเคราะห์ร่วมกับเป้าหมายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปีนั้น

                  สามารถส่งเสริมให้เกษตรกรลดจ านวนพื้นที่ปลูกยางโดยชี้แจงให้เกษตรกรทราบถึงศักยภาพ

                  การปลูกพืชในเขตพื้นที่ที่มีมีศักยภาพเหมาะสมในการเพิ่มผลผลิต (ระยะ 50 กิโลเมตรและระยะ
                  มากกว่า 50 กิโลเมตรจากโรงงาน) ซึ่งจะมีเนื้อที่ถึง 16,248,939 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 57.63 ของเนื้อที่

                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยางพารา หากเป็นเขตการใช้ที่ดินบริเวณอื่น อาจท าให้ผลผลิตยางพารา

                  ต่ ากว่าเกณฑ์มาตรฐาน และไม่ได้คุณภาพ ท าให้เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตสูง และอีกเป้าหมายยุทธศาสตร์
                  ที่ต้องการให้มีปริมาณผลผลิตยางพาราเพิ่มขึ้นจาก 224 กิโลกรัม/ไร่/ปี เป็น 360 กิโลกรัม/ไร่/ปี ให้ได้

                  ภายในปี 2579 นั้น ควรเร่งด าเนินการจัดหาปัจจัยการผลิตในพื้นที่เขตการใช้ที่ดินที่มีศักยภาพในการ
                  เพิ่มผลผลิต และสร้างความเข้าใจให้เกษตรกรเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้มากยิ่งขึ้นต่อไป

                      4.4.2 ข้อเสนอแนะ
                            1) เนื่องจากปัจจัยของราคายางในประเทศอยู่กับการน าเข้าของประเทศจีนเป็นส่วนใหญ่

                  หากจีนลดการน าเข้า และเกิดความผันผวนของราคาน้ ามันในตลาดโลก อาจส่งผลให้ผลผลิตและสต็อก

                  ในประเทศไทยมีปริมาณเพิ่มขึ้น ราคายางจะลดลง ดังนั้นภาครัฐควรหามาตรการเพื่อรองรับการเกิดปัญหา
                  ราคายางที่มีโอกาสลดลงอย่างต่อเนื่อง

                          2) ปัจจุบันเกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกยางพาราอย่างรวดเร็ว เนื่องจากยางพาราเป็นพืชที่
                  สามารถเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรได้สูงเมื่อเทียบกับพืชอื่น ๆ ส่งผลท าให้เกษตรกรปลูกยางพาราในพื้นที่

                  เหมาะสมเล็กน้อยถึงไม่เหมาะสมต่อการปลูกทั้งทางกายภาพและทางเศรษฐกิจ มีเนื้อที่ 6,214,685 ไร่

                  เพื่อลดปัญหาการใช้ที่ดินผิดประเภทและรักษาพื้นที่ที่เหมาะสมไว้ส าหรับปลูกพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ รัฐบาล
                  โดยคณะกรรมการนโยบายยางพาราแห่งชาติ ควรน าผลที่ได้จากการจัดท าเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจ

                  ยางพาราไปใช้เป็นฐานข้อมูลร่วมกันในการบูรณาการงานตามมาตรการภายใต้กลยุทธ์การเพิ่ม
                  ประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพยาง รวมทั้งน าเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยางพาราไปใช้เป็นข้อมูล

                  เพื่อสนับสนุนในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ยางพาราให้ตรงกับเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์

                          3) กรมพัฒนาที่ดินเป็นหน่วยงานหลักในการด าเนินการส่งเสริมให้เกษตรกรลด
                  ใช้ปุ๋ยเคมี โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ให้เหมาะสมตามผลการวิเคราะห์ดินจากนโยบายตามยุทธศาสตร์ยางพารา

                  ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2560-2579 ควรมุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพยางเป็นวัตถุดิบ โดยมีแนวทาง

                  และมาตรการลดต้นทุนการผลิตด้วยการใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าการวิเคราะห์ดิน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับ
                  ปุ๋ยเคมี และการปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดินในสวนยางนั้น เมื่อพิจารณาภารกิจและหน้าที่ของคณะท างาน

                  และหน่วยงานรับผิดชอบภายใต้ยุทธศาสตร์ยางพารา ควรแต่งตั้งกรมพัฒนาที่ดินเป็นหน่วยงานหนึ่ง
                  ภายใต้ยุทธศาสตร์ยางพารา เพื่อให้สามารถด าเนินงานตามมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

                  และคุณภาพยางได้อย่างมีประสิทธิภาพ








                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยางพารา                             กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   179   180   181   182   183   184   185   186   187   188   189