Page 182 - rubber
P. 182

4-88





                  ภาครัฐและภาคเอกชนในการส่งเสริมตลาดส่งออกโดยการขยายตลาดส่งออกเดิมและตลาดส่งออกใหม่

                  รวมทั้งสนับสนุนการเจรจาเพื่อลดปัญหาการกีดกันทางการค้า

                          5) รักษาเสถียรภาพราคายาง โดยก าหนดแผนรองรับความผันผวนของราคายาง และ
                  รักษาเสถียรภาพราคายางภายใต้กรอบความร่วมมือด้านยางระหว่างประเทศ และภายในประเทศ

                  โดยประกันรายได้ผ่านกลไกการใช้เงินโดยผ่านระบบสงเคราะห์ (Cess) จ่ายคืนแก่เกษตรกรโดยตรง

                  ในช่วงราคายางตกต่ า รวมทั้งสนับสนุนการใช้ตลาดของส านักงานตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า
                  แห่งประเทศไทย (AFET) เป็นกลไกการบริหารความเสี่ยงอันเกิดจากความผันผวนของราคา ส่งเสริมการ

                  ปลูกยางพาราในเขตพื้นที่ที่ก าหนดไว้ตามเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยางพารา

                      4.3.5 มาตรการการพัฒนาปัจจัยสนับสนุน
                          1) การส่งเสริมการใช้ยางภายในประเทศ และการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์
                  ยางพารา ให้มีโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมรองรับและสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพารา โดยมี

                  จ านวนผู้ประกอบการแปรรูปยาง / ไม้ยางพาราเพิ่มมากขึ้น

                          2) พัฒนาบุคลากรให้มีก าลังคนเพียงพอต่อความต้องการของอุตสาหกรรมแปรรูปยาง
                  ผลิตภัณฑ์ยางและไม้ยางพารา โดยจัดท าแผนสนับสนุนการใช้ยาง ผลิตภัณฑ์ยางและไม้ยาง ผลักดัน

                  การลงทุนเพื่อใช้ยางดิบสร้างมูลค่าเพิ่มและเร่งอัตราการใช้ยางในประเทศให้มากขึ้น รวมทั้งพัฒนา
                  และปรับปรุงการส่งเสริมการลงทุน ด้านผลิตภัณฑ์ยางของ SME ให้มากขึ้น อาทิ ยกเว้นภาษีน าเข้า

                  เครื่องจักรในกรณีปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีการผลิตหรือการให้แรงจูงใจที่สูงกว่าอุตสาหกรรมทั่วไป

                          3) ด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ มุ่งเน้นให้เกิดการผลักดันความร่วมมือระหว่าง
                  ประเทศเพื่อสนับสนุนประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยบูรณาการงานวิจัยระหว่างหน่วยงานวิจัย

                  ภายในประเทศถึงผลกระทบการปรับตัวและการใช้ประโยชน์จากนโยบายการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจ
                  อาเซียน และผลักดันการท างานร่วมระหว่างสภาความร่วมมือไตรภาคียางพารา 3 ประเทศเพื่อรักษา

                  เสถียรภาพราคายาง ภายใต้กรอบความร่วมมือด้านยางระหว่างประเทศ

                          4) การยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรสวนยาง เน้นให้หน่วยงานที่รับผิดชอบภายใต้
                  คณะท างานและหน่วยงานรับผิดชอบภายใต้ยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579)

                  ส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรชาวสวนยางมีรายได้เพิ่มตามศักยภาพ ในการผลิตยางพารา

                  ในพื้นที่ที่มีศักยภาพการผลิตเนื้อที่ 18.4 ล้านไร่ ตามเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยางพารา โดยส่งเสริม
                  การออมผ่านระบบเงินสงเคราะห์ รวมทั้งจัดให้มีระบบสวัสดิการสังคมแก่ชาวสวนยางหรือคนกรีดยาง

                  ผลักดันการเพิ่มรายได้และเก็บผลประโยชน์จากคาร์บอนเครดิตแก่เกษตรกรทั้งภายใต้กลไกการพัฒนา
                  ที่สะอาด (Clean Development Mechanism : CDM) หรือภายใต้การตลาดแบบสมัครใจ (Voluntary

                  market)







                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยางพารา                             กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186   187