Page 183 - rubber
P. 183

4-89





                  4.4  สรุปและข้อเสนอแนะ


                      4.4.1 สรุป
                            จากหลักเกณฑ์ดังกล่าวสามารถก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยางพาราทั้งประเทศ

                  รวมเนื้อที่ 22,463,624 ไร่ แบ่งเป็น 4 เขต ดังแสดงในตารางที่ 4-1 รูปที่ 4-1 รายละเอียดดังนี้
                            1) เขตมีศักยภาพในการเพิ่มผลผลิต (ระยะไม่เกิน 50 กิโลเมตรจากโรงงาน) มีเนื้อที่รวม

                  ทั้งหมด 14,430,188 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 64.24 ของเนื้อที่เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยางพารา โดยพบ
                  ในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ มีเนื้อที่ 110,039

                  143,115  1,977,777  2,859,847 และ 9,339,410 ไร่ ตามล าดับ

                            2) เขตมีศักยภาพในการเพิ่มผลผลิต (ระยะมากกว่า 50 กิโลเมตรจากโรงงาน) มีเนื้อที่
                  ทั้งหมด 1,731,009 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 7.71 ของเนื้อที่เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยางพารา โดยพบใน

                  ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเนื้อที่ 238,765  53,132  25,033

                  และ 1,414,079 ไร่ ตามล าดับ
                            3) เขตศักยภาพต่่าในการเพิ่มผลผลิต (ระยะไม่เกิน 50 กิโลเมตรจากโรงงาน) มีเนื้อที่รวม

                  ทั้งหมด 5,560,007 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 24.75 ของเนื้อที่เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยางพารา โดยพบใน

                  ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ มีเนื้อที่ 100,230  167,933
                  477,780  949,657 และ 3,864,407 ไร่ ตามล าดับ

                            4) เขตศักยภาพต่่าในการเพิ่มผลผลิต (ระยะมากกว่า 50 กิโลเมตรจากโรงงาน) มีเนื้อที่รวม
                  742,420 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 3.30 ของเนื้อที่เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยางพารา โดยพบในภาคเหนือ

                  ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเนื้อที่ 369,299  42,253  1,139 และ

                  329,729 ไร่ ตามล าดับ
                          จากการศึกษาสภาพการใช้ที่ดินปี 2560/61 ของกรมพัฒนาที่ดิน พบว่า มีพื้นที่ปลูก

                  ยางพาราทั้งหมด 28,172,067 ไร่ โดยปลูกในเขตป่าไม้ตามกฎหมาย เนื้อที่ 5,708,443 ไร่ และปลูก
                  นอกเขตป่าไม้ตามกฎหมาย 22,463,624 ไร่

                          ด้านความต้องการใช้ยางพาราในประเทศ จ าแนกตามชนิดของยางพารา ระหว่างปี 2557–2562

                  พบว่า ความต้องการใช้ยางแผ่นรมควัน มีความต้องการลดลง คิดเป็นร้อยละ 3.43 โดยมีความต้องการ
                  171,466 ตัน ในปี 2557 ลดลงเหลือ 146,622 ตัน ในปี 2562 ยางแท่ง มีความต้องการเพิ่มขึ้น คิดเป็น

                  ร้อยละ 10.07 โดยมีความต้องการ 189,2 3 2  ตัน ในปี 2557 เพิ่มขึ้นเป็น 3 2 0 ,5 7 6  ตัน

                  ในปี 2562 และน้ ายางข้น มีความต้องการเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 9.44 โดยมีความต้องการ 119,762 ตัน
                  ในปี 2557 เพิ่มขึ้นเป็น 219,940 ตัน ในปี 2562 แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มความต้องการใช้ยางพารา

                  ในประเทศจ าแนกตามชนิดของยาง พบว่า น้ ายางข้นและยางแท่งจะมีบทบาทมากขึ้น ขณะที่ยางแผ่นรมควัน

                  มีความส าคัญน้อยลง




                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยางพารา                             กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   178   179   180   181   182   183   184   185   186   187   188