Page 180 - rubber
P. 180

4-86





                  4.3  มาตรการด าเนินงานพัฒนาพืชเศรษฐกิจยางพารา


                      งานก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยางพาราเป็นงานที่จัดท าขึ้นให้สอดคล้องตามนโยบาย
                  ของรัฐบาล และนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปี

                  (พ.ศ. 2560-2579) ซึ่งจัดท าขึ้นให้สอดคล้องตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12

                  (พ.ศ. 2560-2564) และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาสินค้าเกษตรตามแผนพัฒนาการเกษตร
                  ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งสามารถน าไปใช้ในการด าเนินการจัดท าข้อมูลเชิงนโยบาย

                  เพื่อพัฒนาการผลิต และมาตรฐานวัตถุดิบ การพัฒนาเครือข่ายของตลาดและกลไกการรักษาเสถียรภาพราคา
                  การพัฒนาอุตสาหกรรมยาง เพื่อให้การด าเนินงานพัฒนาพื้นที่เป็นไปตามเขตการใช้ที่ดินส าหรับ

                  ยางพาราได้อย่างเป็นรูปธรรม ภาครัฐควรก าหนดมาตรการการด าเนินงานเพื่อให้เขตการใช้ที่ดินน าไปสู่

                  การปฏิบัติได้ดังนี้
                      4.3.1 มาตรการด้านการสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรชาวสวนยางและสถาบันเกษตรกร

                  และชาวสวนยาง
                          1) พัฒนาศักยภาพของเกษตรกรชาวสวนยาง สู่การเป็น Smart Farmer เพื่อเพิ่มรายได้ครัวเรือน
                  ให้เกษตรกรชาวสวนยาง โดยส่งเสริมให้มีการจัดตั้งเป็นสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง สนับสนุนการท าสวนยาง

                  ในรูปแบบแปลงใหญ่ จัดโครงการฝึกอบรมพัฒนาเทคนิคการจัดการ คุณภาพดิน และการดูแล

                  และบ ารุงรักษาสวนยางพาราตามวิธีการปฏิบัติงานต่าง ๆ ตามที่ได้รับค าแนะน า เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี
                  มีคุณภาพและหลีกเลี่ยงการก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรอื่น ๆ

                          2) ส่งเสริมให้เกษตรกรมีการถ่ายทอดเทคนิคการบริหารจัดการสวนยางให้กับกลุ่ม

                  เกษตรกรชาวสวนยางรุ่นใหม่ ให้มีการบริหารงานแบบมืออาชีพ และมีขีดความสามารถในการท าธุรกิจ
                  โดยต้องมีความพร้อมที่จะรับและสืบทอดกิจการต่อจากบิดามารดา

                      4.3.2 มาตรการการเพิ่มประสิทธิภาพและการยกระดับคุณภาพและมาตรฐาน
                          1) สร้างความเข้าใจให้กับเกษตรกรที่มีการบุกรุกปลูกยางพาราในพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมาย

                  หมดไป โดยตัดโค่นพื้นที่ยางพาราที่มีอายุเกิน 25 ปี ในเขตป่าไม้ตามกฎหมาย เพื่อด าเนินการปลูกป่าคืน
                  ในพื้นที่ให้มีการพัฒนาพื้นที่ปลูกยางเดิม และเน้นส่งเสริมให้เกษตรกรที่มีการปลูกอยู่ในพื้นที่ที่มี

                  ชั้นความเหมาะสมสูง เพิ่มปริมาณผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น พัฒนาเทคนิคการจัดการสวนยางเพื่อลดต้นทุนการผลิต

                          2) การบริหารจัดการพื้นที่การผลิตและปริมาณผลผลิตยางพารา โดยส่งเสริมและพิจารณา
                  จากพื้นที่ที่มีชั้นความเหมาะสมในระดับต่าง ๆ รวมทั้งพิจารณา ที่ตั้งของแหล่งโรงงาน เพื่อลดต้นทุนการขนส่ง

                          3) พัฒนาการผลิตยางของเกษตรกรโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยเน้นการใช้วัสดุปลูก
                  ที่มีคุณภาพ เข้มงวดการเปิดกรีดยางตามขนาดเปิดกรีดยาง และส่งเสริมให้ความรู้ในการเก็บน้ ายาง

                  ให้มีคุณภาพสูงก่อนเข้าสู่กระบวนการทางอุตสาหกรรม








                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยางพารา                             กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185