Page 13 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจไพล
P. 13

บทที่ 2

                                                      ข้อมูลทั่วไป




                        ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้นทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ระหว่างละติจูด 5 องศา 37
                  ลิปดาเหนือ กับ 20 องศา 27 ลิปดาเหนือ และระหว่างลองจิจูด 97 องศา 22 ลิปดาตะวันออก กับ 105

                  องศา 37 ลิปดาตะวันออก มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 513,115 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ
                  320,696,893 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศใกล้เคียงดังนี้
                        ทิศเหนือ      ติดสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
                        ทิศตะวันออก   ติดสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และราชอาณาจักรกัมพูชา

                        ทิศใต้       ติดสหพันธรัฐมาเลเซีย
                        ทิศตะวันตก    ติดสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และทะเลอันดามัน


                  2.1  สภาพภูมิประเทศ

                        2.1.1 ภาคเหนือ
                            ภาคเหนือมีเนื้อที่รวมประมาณ 106,027,680 ไร่ ประกอบด้วย 17 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด
                  ก าแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน
                  ล าปาง ล าพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี

                            ภูมิประเทศทางภาคเหนือส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน โดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสูง
                  ทอดตัวยาวจากเหนือถึงใต้ และมีหุบเขาอยู่โดยทั่วไป ภูเขาสูงในทางภาคเหนือมีความส าคัญ คือ เป็น
                  ต้นก าเนิดของแม่น้ าล าคลองที่ส าคัญ ไหลลงสู่ลุ่มน้ าต่างๆ ได้แก่ ลุ่มน้ าเจ้าพระยา ลุ่มน้ าโขง และลุ่มน้ าสาละวิน

                  เทือกเขาทางภาคเหนือมีความสูงเฉลี่ยประมาณ 1,600 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง ส่วนใหญ่มีความ
                  สูงมากกว่า 1,000 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง และบางแห่งมีความสูงมากกว่า 1,750 เมตรจากระดับ
                  ทะเลปานกลาง นอกจากเทือกเขา และทิวเขาสูง ภาคเหนือยังมีลักษณะภูมิประเทศที่โดดเด่นคู่กับเทือกเขา
                  ต่างๆ คือ หุบเขา และแอ่งที่ราบระหว่างภูเขา โดยหุบเขาส่วนใหญ่จะแคบ และลึก มีความยาวขนานกับสัน
                  เขา หุบเขาจะลึกมาก หรือน้อยขึ้นอยู่กับความสูงของไหล่เขาทั้งสองด้านที่ประกบร่องหุบเขานั้น ส่วนแอ่ง

                  ที่ราบระหว่างภูเขา เป็นที่ต่ าซึ่งมีภูเขาล้อมรอบ จะมีขนาดกว้างใหญ่กว่าหุบเขา เป็นที่สะสมของตะกอน
                  น้ าพากลายเป็นพื้นที่ราบที่มีความอุดมสมบูรณ์ มักเป็นแหล่งที่ตั้งถิ่นฐานของชุมชน

                        2.1.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
                            ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสาน มีเนื้อที่รวมประมาณ 105,533,963 ไร่ หรือ 1 ใน 3
                  ของพื้นที่ทั้งประเทศ ประกอบด้วย 20 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม
                  นครราชสีมา บึงกาฬ บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์

                  หนองคาย หนองบัวล าภู อ านาจเจริญ อุดรธานี และอุบลราชธานี
                            ภูมิประเทศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่ยกตัวสูงเป็นขอบอยู่ทางทิศตะวันตก
                  และทางทิศใต้ มีภูเขาขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วไปของภาค พื้นที่โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นที่ราบมีชื่อเรียกว่า

                  ที่ราบสูงโคราช โดยมีขอบสูงทางทิศตะวันตก และทิศใต้ และค่อยลาดเอียงไปทางทิศตะวันออกสู่แม่น้ าโขง





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจไพล                         กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18