Page 10 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจไพล
P. 10

1-2





                  1.3   ระยะเวลำและขอบเขตกำรด ำเนินกำร

                        1.3.1  ระยะเวลำด ำเนินกำร   1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563

                        1.3.2  ขอบเขตพื้นที่ศึกษำ   พื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจไพลทุกภาคของประเทศไทย
                        1.3.3  พืชเศรษฐกิจสมุนไพร   ไพล


                  1.4   ขั้นตอนและวิธีกำรด ำเนินงำน

                        1.4.1 กำรรวบรวมข้อมูลทั่วไป
                            การรวบรวมข้อมูล ได้จากการเก็บข้อมูลในภาคสนาม และจากหน่วยงานราชการทั้งใน
                  และนอกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยข้อมูลทั่วไปได้แก่ ข้อมูลที่
                  น ามาใช้เป็นฐานในการศึกษาและวิเคราะห์ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลเชิงอรรถาธิบายและข้อมูลเชิงพื้นที่ ดังนี้

                            1) ข้อมูลเชิงอรรถำธิบำย ได้แก่ ข้อมูลด้านทรัพยากรต่างๆที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ภูมิอากาศ
                  ทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ า ทรัพยากรป่าไม้ ข้อมูลเกษตรกรผู้ปลูกไพล และเกษตรกรที่ได้รับการ
                  ส่งเสริมการจัดการสมุนไพร และฐานข้อมูลเกษตรกรระดับชุมชน กลุ่มวิสาหกิจชุมชน/เครือข่ายวิสาหกิจ
                  ชุมชนสมุนไพร สถิติพื้นที่เพาะปลูก สถิติการค้าและการส่งออก โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ข้อมูลด้าน

                  การตลาดและราคาผลผลิต รวมถึงนโยบายรัฐบาลและแผนพัฒนาต่างๆ ของหน่วยงานราชการ
                            2) ข้อมูลเชิงพื้นที่ ได้แก่ แผนที่สภาพภูมิประเทศ ขอบเขตการปกครอง แผนที่กลุ่มชุดดิน
                  แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน ขอบเขตป่าสงวนแห่งชาติ ขอบเขตอุทยานแห่งชาติ ขอบเขตนิคมสหกรณ์

                  (รูปนิคมสหกรณ์ ตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 และรูปสหกรณ์การเช่าที่ดิน)
                  ขอบเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร (สปก.) ขอบเขตชลประทาน แผนที่เส้นชั้นน้ าฝนของประเทศไทย
                  ระหว่างปี 2532-2562

                        1.4.2 กำรรวบรวมข้อมูลทำงด้ำนเศรษฐกิจและสังคม
                            ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจและสังคมได้จากการรวบรวมข้อมูลทั้งข้อมูลปฐมภูมิ (primary
                  data) และทุติยภูมิ (secondary data) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
                             1) ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) รวบรวมข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยใช้วิธี

                  การเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม (questionnaire) และเลือกกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้ปลูกพืชสมุนไพร
                  จากเทคนิคการสุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) ตามข้อมูลเชิงพื้นที่ของกรมวิชาการ
                  เกษตร และกรมส่งเสริมการเกษตร
                             2) ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) จากการรวบรวมข้อมูล และผลการศึกษาต่างๆ ที่

                  เกี่ยวข้องทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
                        1.4.3 กำรน ำเข้ำและวิเครำะห์ข้อมูล

                            ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลได้มีการน าเข้าและวิเคราะห์เฉพาะแต่ละด้าน
                  โดยโปรแกรมส าเร็จรูปต่างๆ และโปรแกรมด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ดังรายละเอียดดังนี้
                             1) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ ได้แก่ เขตป่าไม้ตามกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรี ร่วมกับ
                  ข้อมูลเชิงพื้นที่ของเกษตรกรผู้ปลูกไพล โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อเป็นข้อมูลการก าหนดเขต

                  การใช้ที่ดินต่อไป






                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจไพล                         กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15