Page 9 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจไพล
P. 9
บทที่ 1
บทน ำ
1.1 หลักกำรและเหตุผล
ปัจจุบันความต้องการใช้สมุนไพรในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจาก
ความต้องการในการรักษาสุขภาพด้วยแนวทางที่ปลอดภัย และความพยายามที่จะลดการใช้ยาแผนปัจจุบันที่
ต้องมีการน าเข้ามาจากต่างประเทศ รวมถึงแนวโน้มด้านความสวยความงามที่ต้องมาจากธรรมชาติ ซึ่ง
ก าลังเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก สมุนไพรจึงได้เข้ามีบทบาททางการแพทย์มากยิ่งขึ้น และกลายเป็นหนึ่ง
ในผลิตภัณฑ์ที่ส าคัญของประเทศที่เป็นที่ยอมรับ แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากยังไม่มีการจัดการสมุนไพร
อย่างเป็นระบบตั้งแต่ต้นน้ า กลางน้ า ปลายน้ า จึงท าให้มีปัญหาในด้านวัตถุดิบที่ยังมีไม่เพียงพอ ต้องมี
การน าเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ รวมทั้งปัญหาด้านคุณภาพวัตถุดิบที่ไม่ได้มาตรฐาน และปัญหาด้าน
การตลาดที่ยังมีปัญหาด้านข้อตกลงทางการค้าที่เป็นอุปสรรคต่อการผลิตสมุนไพร
แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 2560-2564 ซึ่งรัฐบาลและหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องได้ให้ความส าคัญต่อการพัฒนาสมุนไพรไทย จึงได้ให้มีการจัดท าแผนการพัฒนาสมุนไพรที่
เป็นระบบ โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมและรักษาภูมิปัญญาที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพรไทย และพัฒนาการ
ผลิตและใช้ประโยชน์จากสมุนไพรอย่างมีคุณภาพ และครบวงจร ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความยั่งยืนของ
สมุนไพรไทยและเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ
ไพล เป็นหนึ่งในสมุนไพรที่เป็น Product Champion โดยไพลได้ถูกก าหนดให้เป็นสมุนไพร
Product Champion ที่อยู่ภายใต้มิติด้านความต้องการ ซึ่งมีเกณฑ์ในการพิจารณาจากความต้องการในการบริโภค
ในด้านต่างๆ ได้แก่ ยา อาหารเสริม เครื่องส าอาง และผลิตภัณฑ์สปา ซึ่งต้องสอดคล้องกับความต้องการ
ของตลาดในประเทศและต่างประเทศ เนื่องจากเป็นพืชสมุนไพรที่มีความโดดเด่นในด้านคุณภาพ เป็น
หนึ่งในยาสมุนไพรพื้นฐาน นิยมใช้เป็นส่วนประกอบในการท าลูกประคบ
กรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งมีภารกิจหลักในการวางแผนการใช้ที่ดิน ได้ส่งเสริมให้มีการก าหนดเขตการใช้ที่ดิน
พืชสมุนไพร ได้แก่ ไพล ซึ่งการก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชสมุนไพรจะเกี่ยวข้องกับแผนแม่บทว่าด้วยการ
พัฒนาสมุนไพรไทย ยุทธศาสตร์ที่ 1 คือ การส่งเสริมผลิตผลของสมุนไพรที่มีศักยภาพตามความต้องการ
ของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเขตการใช้ที่ดินพืชสมุนไพร จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการปลูกพืช
สมุนไพรตามศักยภาพของพื้นที่ช่วยให้การปลูกไพลแพร่หลายในพื้นที่ที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น เพียงพอต่อ
ความต้องการใช้ในประเทศ และมีคุณภาพ สามารถตอบสนองความต้องการในอุตสาหกรรมการผลิต
เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรชนิดนี้ได้เป็นอย่างดี
1.2 วัตถุประสงค์
1) เพื่อก าหนดเขตการใช้ที่ดินส าหรับพืชเศรษฐกิจไพล ให้เหมาะสมกับสภาพทางกายภาพ
เศรษฐกิจและสังคมตลอดจนกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้อง
2) เพื่อเป็นกรอบในการก าหนดแผนการผลิต การตลาดและการส่งออกส าหรับพืชสมุนไพร ให้
เหมาะสมกับพื้นที่และทิศทางความต้องการของตลาดต่างประเทศ
3) เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการก าหนดแผนงานพัฒนาการปลูกพืชสมุนไพรในระดับพื้นที่
เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจไพล กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน