Page 16 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจไพล
P. 16
2-4
1-2 สัปดาห์ เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว อากาศแปรปรวนไม่แน่นอน อาจเริ่มมีอากาศเย็น
หรืออาจยังมีฝนฟ้าคะนอง โดยเฉพาะบริเวณภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออกลงไป ซึ่งจะหมดฝน
และเริ่มมีอากาศเย็นช้ากว่าภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2.2.3 ปริมาณน ้าฝน
จากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา (2562) ระหว่างปี 2533-2562 ปริมาณน้ าฝนรวมเฉลี่ยตลอดปี
แต่ละภาคมีค่าดังนี้ ภาคเหนือ 1,254.4 มิลลิเมตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,437.7 มิลลิเมตร
ภาคกลาง 1,202.5 มิลลิเมตร ภาคตะวันออก 1,961.5 มิลลิเมตร และภาคใต้ 2,384.1 มิลลิเมตร
ปริมาณฝนในแต่ละพื้นที่เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะภูมิประเทศนอกเหนือจากการผันแปรตามฤดูกาล
บริเวณประเทศไทยตอนบนปกติจะแห้งแล้งและมีฝนน้อยในฤดูหนาว เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อนปริมาณฝนจะเพิ่มขึ้น
บ้างพร้อมทั้งมีพายุฟ้าคะนอง และเมื่อเข้าสู่ฤดูฝนปริมาณฝนจะเพิ่มขึ้นมากโดยจะมีปริมาณฝนมากที่สุด
ในเดือนสิงหาคมหรือเดือนกันยายน พื้นที่ที่มีปริมาณฝนมากส่วนใหญ่จะอยู่ด้านหน้าทิวเขาหรือด้านรับลม
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ได้แก่ พื้นที่ทางด้านตะวันตกของประเทศบริเวณอ าเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
และภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราด โดยเฉพาะที่อ าเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด
มีปริมาณฝนรวมตลอดปีมากถึง 4,906.5 มิลลิเมตร ส่วนพื้นที่ที่มีฝนน้อยส่วนใหญ่อยู่ด้านหลังเขา ได้แก่
พื้นที่ตอนกลางของภาคเหนือบริเวณจังหวัดล าพูน ล าปาง และแพร่ พื้นที่ด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
บริเวณจังหวัดชัยภูมิและจังหวัดนครราชสีมา และภาคกลาง ส าหรับภาคใต้มีฝนตกชุกเกือบตลอดปี
ยกเว้นช่วงฤดูร้อน พื้นที่บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีปริมาณฝน
มากกว่าภาคใต้ฝั่งตะวันออกในช่วงฤดูฝน โดยมีปริมาณฝนมากที่สุดในเดือนกันยายน ส่วนช่วงฤดูหนาว
บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะมีปริมาณฝนมากกว่าภาคใต้
ฝั่งตะวันตก มีปริมาณฝนมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน พื้นที่ที่มีปริมาณฝนมากที่สุดของภาคใต้อยู่
บริเวณจังหวัดระนองซึ่งมีปริมาณฝนรวมตลอดปีมากถึง 4,190.2 มิลลิเมตร ส่วนพื้นที่ที่มีฝนน้อย ได้แก่
ภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบนด้านหลังทิวเขาตะนาวศรี บริเวณจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
(รูปที่ 2-1)
2.2.4 ความชื นสัมพัทธ์
ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศเป็นอัตราส่วนของจ านวนไอน้ าที่มีอยู่ในอากาศต่อจ านวนไอน้ าที่
อาจมีได้จนอิ่มตัวเต็มที่ในอากาศเดียวกันนั้น ความชื้นสัมพัทธ์จึงก าหนดโดยให้จ านวนความชื้นที่อิ่มตัว
เต็มที่เป็น 100 ส่วน ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตรจึงมีอากาศร้อนชื้นปกคลุมเกือบตลอดปี
เว้นแต่บริเวณที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน ตั้งแต่ภาคกลางขึ้นไปความชื้นสัมพัทธ์จะลดลงชัดเจนในช่วงฤดูหนาว
และฤดูร้อน โดยเฉพาะฤดูร้อนจะเป็นช่วงที่ความชื้นสัมพัทธ์ลดลงต่ าสุดในรอบปี
2.2.5 อุณหภูมิ
ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนสภาวะอากาศโดยทั่วไปจึงร้อนอบอ้าวเกือบตลอดปี อุณหภูมิ
เฉลี่ยตลอดปีของประเทศไทยมีค่าประมาณ 27 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตามอุณหภูมิจะมีความแตกต่าง
กันไปในแต่ละพื้นที่และฤดูกาล พื้นที่ที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินบริเวณตั้งแต่ภาคกลางขึ้นไป และระหว่าง
กลางวันกับกลางคืน ส าหรับพื้นที่ซึ่งอยู่ติดทะเล ได้แก่ ภาคตะวันออกตอนล่างและภาคใต้ความผันแปร
ของอุณหภูมิในช่วงวันและฤดูกาลจะน้อยกว่า โดยฤดูร้อนอากาศไม่ร้อนจัดและฤดูหนาวอากาศไม่หนาวจัด
เท่าพื้นที่ซึ่งอยู่ลึกเข้าไปในพื้นดิน
เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจไพล กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน