Page 20 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจไพล
P. 20

2-8





                          1) กลุ่มชุดดินในพื นที่ลุ่ม หรือพื นที่น ้าขัง

                            เป็นกลุ่มชุดดินที่มีน้ าแช่ขัง หรือมีระดับน้ าใต้ดินตื้น ท าให้ดินมีการระบายน้ าค่อนข้างเลว
                  ถึงเลวมาก พบในทุกภาคของประเทศมีอยู่ 28 กลุ่มชุดดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 1-25 และกลุ่มชุดดินที่
                  57-59 ซึ่งสามารถจ าแนกหน่วยที่ดินที่ได้จัดท าเพื่อใช้ในการประเมินความเหมาะสมของที่ดินส าหรับไพล
                  ดังนี้
                            1.1)  หน่วยที่ดินที่ 1 และ1I
                                พบในสภาพพื้นที่ราบเรียบ หรือค่อนข้างราบเรียบ เป็นดินลึกมาก การระบายน้ าเลว

                  ดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออนสูง อัตราร้อยละความอิ่มตัวเบสสูง
                  ดินมีเนื้อดินเป็นดินเหนียวปนทรายแป้งถึงดินเหนียว ดินบนมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 6.0-7.0 และ
                  ดินล่างมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 7.0-8.0
                                ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ การไถพรวนล าบาก เนื่องจากเป็นดินเหนียวจัด
                  ต้องไถพรวนในช่วงระยะเวลาที่ดินมีความชื้นที่เหมาะสม ในขณะเดียวกันพืชที่ปลูกอาจขาดแคลนน้ าได้
                  ง่ายเมื่อฝนทิ้งช่วงนานกว่าปกติ เนื่องจากน้ าที่ขังอยู่จะซึมหายไปง่าย เมื่อดินเริ่มแห้ง จะแตกระแหงเป็น
                  ร่องลึก ดินกลุ่มนี้ปกติใช้ท านา
                            1.2)  หน่วยที่ดินที่ 2 และ2I

                                พบในสภาพพื้นที่ราบเรียบ หรือค่อนข้างราบเรียบ ดินลึกมาก การระบายน้ าเลว
                  ดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออนสูง อัตราร้อยละความอิ่มตัวเบส
                  ค่อนข้างต่ าถึงปานกลาง ดินมีเนื้อดินเป็นดินเหนียวปนทรายแป้งถึงดินเหนียว ดินบนมีค่าความเป็นกรด
                  เป็นด่าง 4.5-5.5 ดินล่างมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 4.5-5.0 และพบความลึกของชั้นจาโรไซต์ที่
                  100-150 เซนติเมตร
                                ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ ดินเป็นกรดจัดมาก และมีศักยภาพก่อให้เกิด

                  ความเป็นกรดของดินเพิ่มขึ้นในดินล่าง ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนต่อผลผลิต แต่ถ้ามีการจัดการที่ดินอย่างดี
                  แล้วจะให้ผลผลิตค่อนข้างสูง
                            1.3)  หน่วยที่ดินที่ 3 3I 3sa และ3saI
                                พบในสภาพพื้นที่ราบเรียบ หรือค่อนข้างราบเรียบ ดินลึกมาก การระบายน้ าเลว
                  ดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออนสูง อัตราร้อยละความอิ่มตัวเบสสูง ดิน
                  มีเนื้อดินเป็นดินเหนียว ดินบนมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 5.5-8.0 และดินล่างมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง
                  6.5-8.0 หากดินที่มีคราบเกลือจะมีค่าการน าไฟฟ้า 2-4 เดซิซีเมนส์ต่อเมตร

                                ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ถ้าเป็นที่ลุ่มมากๆ จะมีปัญหาเรื่องน้ าท่วมในฤดูฝน
                  หรือถ้าหากอยู่ในบริเวณที่มีอิทธิพลของน้ าทะเลขึ้นลงอยู่ในรอบปีอาจพบปัญหาดินเค็มบ้าง
                            1.4)  หน่วยที่ดินที่ 4 และ4I
                                พบในสภาพพื้นที่ราบเรียบ หรือค่อนข้างราบเรียบ ดินลึกมาก การระบายน้ าเลว
                  ดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออนสูง อัตราร้อยละความอิ่มตัวเบส
                  ค่อนข้างต่ าถึงปานกลาง ดินมีเนื้อดินเป็นดินเหนียวปนทรายแป้งถึงดินเหนียว ดินบนมีค่าความเป็นกรด

                  เป็นด่าง 5.5-6.5 และดินล่างมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 7.0-8.0
                                ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน กลุ่มชุดดินนี้ไม่ค่อยมีปัญหา แต่ถ้าเป็นที่ลุ่มมากๆ
                  จะมีปัญหาเรื่องน้ าท่วมในฤดูฝน







                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจไพล                         กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25