Page 18 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจไพล
P. 18

2-6






                  2.3  ทรัพยากรที่ดิน
                        ดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ส าคัญที่เป็นแหล่งในการผลิตอาหาร และรองรับกิจกรรมต่างๆ ของ

                  มนุษย์ แต่เมื่อมีการใช้ทรัพยากรดินอย่างไม่เหมาะสม โดยเฉพาะกิจกรรมทางการเกษตร
                  หากทรัพยากรดินเกิดความเสื่อมโทรม และขาดความอุดมสมบูรณ์ จะส่งผลให้ผลผลิตที่ได้รับน้อยกว่าที่
                  ควรจะเป็น โดยเฉพาะในปีถัดมาซึ่งมีการท าการเกษตรโดยการใช้ดินแบบไม่มีการพักดิน ขาดการ
                  บ ารุงรักษา และการปรับปรุงบ ารุงดินอย่างต่อเนื่องซึ่งไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนของเกษตรกรส าหรับพืชแต่
                  ละชนิดที่ได้มีการลงทุนไป
                        กรมพัฒนาที่ดิน ได้จัดกลุ่มชุดดินส าหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจได้ทั้งหมด 62 กลุ่มชุดดิน (รูปที่ 2-2)

                  โดยพิจารณาจากลักษณะ ศักยภาพ และการจัดการที่คล้ายคลึงกันไว้ด้วยกัน เมื่อพิจารณากลุ่มชุดดินทั้ง
                  62 กลุ่มชุดดิน ตามลักษณะและคุณสมบัติดินที่มีศักยภาพคล้ายคลึงกันในด้านที่มีผลต่อการเจริญเติบโต
                  และให้ผลผลิตของพืช สามารถจัดได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2548) ได้แก่
                          -  กลุ่มชุดดินในพื้นที่ลุ่ม หรือพื้นที่น้ าขัง
                          -  กลุ่มชุดดินในพื้นที่ดอนที่อยู่ในเขตดินแห้ง

                          -  กลุ่มชุดดินในพื้นที่ดอนที่อยู่ในเขตดินชื้น
                          -  กลุ่มชุดดินที่มีความลาดชันสูง
                        การจัดท้าหน่วยที่ดิน
                          หน่วยที่ดินเป็นข้อมูลที่ใช้ในการจัดท าเขตเหมาะสมส าหรับการปลูกไพล ในการจัดท าหน่วย
                  ที่ดินต้องท าการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เป็นเครื่องมือด้วยวิธีการซ้อนทับ
                  ข้อมูล ซึ่งเป็นการน าข้อมูลกลุ่มชุดดินมาพิจารณาร่วมกับข้อมูลอื่นๆ ที่สามารถรวบรวมได้จากหน่วยงาน

                  ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จากนั้นหน่วยที่ดินนี้จะถูกน ามาประเมินคุณภาพที่ดิน ซึ่งการประเมินคุณภาพที่ดินจะ
                  พิจารณาจากสมบัติทางกายภาพ และทางเคมีของดิน โดยปัจจัยพิจารณา ประกอบด้วย การระบายน้ า
                  ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน อัตราร้อยละความอิ่มตัวเบส ความลึกของดิน
                  ปริมาณก้อนกรวด ค่าการน าไฟฟ้า ปฏิกิริยาดิน ความลึกที่พบจาโรไซด์ และความลาดชัน ซึ่งจะน าไปสู่

                  การประเมินความเหมาะสมของที่ดินส าหรับการปลูกไพล ซึ่งข้อมูลหน่วยที่ดินจะช่วยให้งานวางแผนการ
                  ใช้ที่ดินมีประสิทธิภาพ และตรงตามศักยภาพของพื้นที่มากยิ่งขึ้น
                          จากการวิเคราะห์ข้อมูลทรัพยากรดินเพื่อจัดท าหน่วยที่ดิน จะพบหน่วยที่ดินที่มีศักยภาพ และ
                  ไม่มีศักยภาพส าหรับการปลูกไพลของทั้งประเทศ โดยแต่ละหน่วยที่ดินจะมีคุณภาพที่ดินที่แตกต่างกัน
                  ตามคุณลักษณะเฉพาะของหน่วยที่ดิน (ตารางผนวกที่ 2-1) เช่น หน่วยที่ดินที่ 4 คือ ลักษณะของกลุ่ม
                  ชุดดินที่ 4 หน่วยที่ดินที่ 4I คือ ลักษณะของกลุ่มชุดดินที่ 4 ที่อยู่ในเขตชลประทาน เป็นต้น ซึ่งตาม

                  ลักษณะ และคุณสมบัติดินที่มีศักยภาพคล้ายคลึงกันในด้านที่มีผลต่อการเจริญเติบโต และให้ผลผลิตของ
                  พืช สามารถจัดได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ ดังนี้


















                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจไพล                         กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23