Page 21 - pineapple
P. 21

2-11





                        2.2.4 ความชื้นสัมพัทธ์

                             ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร จึงมีอากาศร้อนชื้นปกคลุมเกือบตลอดปี
                  เว้นแต่บริเวณที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน ตั้งแต่ภาคกลางขึ้นไปความชื้นสัมพัทธ์จะลดลงชัดเจน ในช่วงฤดูหนาว
                  และฤดูร้อน โดยเฉพาะฤดูร้อน จะเป็นช่วงที่ความชื้นสัมพัทธ์ลดลงต่ําสุดในรอบปี ในบริเวณดังกล่าว

                  มีความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปี 72-74 เปอร์เซ็นต์ และจะลดลงเหลือ 62-69 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงฤดูร้อน
                        2.2.5 อุณหภูมิ
                             อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีของประเทศไทยมีค่าประมาณ 28 องศาเซลเซียส โดยอุณหภูมิจะมี
                  ความแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่และฤดูกาล พื้นที่ที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน บริเวณตั้งแต่ภาคกลาง
                  และภาคตะวันออกตอนบนขึ้นไป จนถึงภาคเหนือจะมีอุณหภูมิแตกต่างกันมาก ระหว่างฤดูร้อนกับฤดูหนาว

                  และระหว่างกลางวันกับกลางคืน สําหรับพื้นที่ซึ่งอยู่ติดทะเล ได้แก่ ภาคตะวันออกตอนล่างและภาคใต้
                  ความผันแปรของอุณหภูมิในช่วงวันและฤดูกาลจะน้อยกว่า โดยฤดูร้อนอากาศไม่ร้อนจัดและฤดูหนาว
                  อากาศไม่หนาวจัดเท่าพื้นที่ซึ่งอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน (กรมอุตุวิทยา, 2564)


                  2.3  ทรัพยากรที่ดิน

                     ทรัพยากรดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสําคัญ ซึ่งจําเป็นต่อการทําเกษตรกรรมและการดํารงชีพ
                  ของมนุษย์ ดินเกิดจากการผุพังสลายตัวของหินและแร่ต่างๆ มารวมตัวหรือทับถมแล้วผสมคลุกเคล้ากับ
                  อินทรียวัตถุตามกระบวนการทางธรณีวิทยา โดยได้รับอิทธิพลจากสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ พืชพรรณ
                  และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ชนิดของวัตถุต้นกําเนิด และระยะเวลาของการเกิดดิน ซึ่งความแตกต่างกันของสภาพแวดล้อม

                  หรือปัจจัยที่กล่าวมาแล้วนั้น จะส่งผลให้ดินในแต่ละพื้นที่มีลักษณะของดิน และความเหมาะสมในการใช้
                  ประโยชน์ที่ดินที่แตกต่างกัน
                     กรมพัฒนาที่ดินได้พิจารณาจัดหมวดหมู่ลักษณะและสมบัติดินที่มีศักยภาพคล้ายคลึงกัน ในด้านที่

                  มีผลต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของพืชที่ปลูก ออกเป็น 62 กลุ่มชุดดิน โดยแบ่งตามสภาพพื้นที่พบ
                  ได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ ซึ่งมีรายละเอียดดังตารางที่ 2-1
                      1) กลุ่มชุดดินในพื้นที่ลุ่มหรือพื้นที่น้ําขัง พบทุกภาค ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 1 - 25 และกลุ่ม
                  ชุดดินที่ 57 - 59
                      2) กลุ่มชุดดินในพื้นที่ดอนที่อยู่ในเขตดินแห้ง พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก

                  ภาคกลาง และภาคเหนือ ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 28 29 30 31 33 35 36 37 38 40 41 44 46 47 48 49
                  52 54 55 56 60 และ 61
                      3) กลุ่มชุดดินในพื้นที่ดอนที่อยู่ในเขตดินชื้น พบในภาคใต้และพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก

                  เฉียงใต้ ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 26 27 32 34 39 42 43 45 50 51 และ 53
                      4) กลุ่มชุดดินที่มีความลาดชันสูงพบทุกภาคเป็นพื้นที่ภูเขาและเทือกเขา ที่มีความลาดชัน
                  มากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 62















                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจสับปะรดโรงงาน                          กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26