Page 13 - pineapple
P. 13

2-3





                  2.2  สภาพภูมิอากาศ
                        2.2.1 ลมมรสุม

                             ประเทศไทยอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม 2 ชนิด คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุม
                  ตะวันออกเฉียงเหนือ (รูปที่ 2-1)
                                ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย ระหว่าง
                  กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม โดยมีแหล่งกําเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูง ในซีกโลกใต้
                  บริเวณมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งพัดออกจากศูนย์กลางเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้ และเปลี่ยนเป็นลมตะวันตก
                  เฉียงใต้เมื่อพัดข้ามเส้นศูนย์สูตร มรสุมนี้จะนํามวลอากาศชื้นจากมหาสมุทรอินเดียมาสู่ประเทศไทย

                  ทําให้มีเมฆมากและฝนชุกทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามบริเวณชายฝั่งทะเล และเทือกเขาด้านรับลมจะมี
                  ฝนมากกว่าบริเวณอื่น
                                ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ หลังจากหมดอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้แล้ว
                  ประมาณกลางเดือนตุลาคม จะมีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย จนถึงกลางเดือน
                  กุมภาพันธ์ มรสุมนี้มีแหล่งกําเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงบนซีกโลกเหนือ แถบประเทศมองโกเลีย
                  และจีน จึงพัดพาเอามวลอากาศเย็นและแห้งจากแหล่งกําเนิดเข้ามาปกคลุมประเทศไทย ทําให้ท้องฟ้าโปร่ง
                  อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้งทั่วไป โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้จะมี

                  ฝนชุกโดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก เนื่องจากมรสุมนี้นําความชุ่มชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุม
                  การเริ่มต้นและสิ้นสุดมรสุมทั้งสองชนิดอาจผันแปรไปจากปกติได้ในแต่ละปี
                        2.2.2 ฤดูกาล
                             ประเทศไทยโดยทั่วๆ ไปสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู ดังนี้
                                ฤดูร้อน เริ่มต้นประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็น
                  ช่วงเปลี่ยนจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และเป็นระยะที่ขั้วโลกเหนือ

                  หันเข้าหาดวงอาทิตย์ โดยเฉพาะเดือนเมษายน บริเวณประเทศไทย มีดวงอาทิตย์อยู่เกือบตรงศีรษะ
                  ในเวลาเที่ยงวัน ทําให้ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์เต็มที่ สภาวะอากาศจึงร้อนอบอ้าวทั่วไป ในฤดูนี้
                  แม้ว่าโดยทั่วไปจะมีอากาศร้อนและแห้งแล้ง แต่บางครั้งอาจมีมวลอากาศเย็นจากประเทศจีน แผ่ลง
                  มาปกคลุมถึงประเทศไทยตอนบน ทําให้เกิดการปะทะกันของมวลอากาศเย็นกับมวลอากาศร้อนที่ปกคลุม
                  อยู่เหนือประเทศไทย ซึ่งก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง หรืออาจมีลูกเห็บตกก่อให้เกิด
                  ความเสียหายได้ พายุฝนฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นในฤดูนี้มักเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พายุฤดูร้อน





























                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจสับปะรดโรงงาน                          กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18