Page 8 - pineapple
P. 8

1-2






                  ปลูกสับปะรดในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนไปเพาะปลูกพืชชนิดอื่นแทน เพื่อให้ปริมาณ

                  ผลผลิตมีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาด

                  1.2  วัตถุประสงค์

                        1.2.1 เพื่อกําหนดบริเวณการใช้ที่ดินที่เหมาะสมทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจและสังคม
                  ของสับปะรดโรงงาน

                        1.2.2 เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการกําหนดแผนงานและนโยบายทางด้านการผลิตสับปะรด
                  โรงงาน
                        1.2.3 เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการวางแผนการผลิตและการตลาดสําหรับการอุปโภค บริโภคและการ
                  แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ


                  1.3  ขอบเขตการดําเนินงาน

                        1.3.1 ระยะเวลาดําเนินงาน ตุลาคม 2563 ถึงกันยายน 2564
                        1.3.2 ขอบเขตพื้นที่ศึกษา พื้นที่เกษตรกรรมทั้งประเทศ
                        1.3.3 พืชเศรษฐกิจสับปะรดโรงงาน เพื่อการบริโภคภายในประเทศและการแปรรูปเพื่อส่งออก


                  1.4  ขั้นตอนและวิธีดําเนินงาน

                        1.4.1 การรวบรวมข้อมูลทั่วไป
                             ข้อมูลทุติยภูมิที่นํามาใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการศึกษาและวิเคราะห์กําหนดเขตการใช้ที่ดินพืช
                  เศรษฐกิจสับปะรดโรงงาน ประกอบด้วยข้อมูลเชิงอรรถาธิบายและข้อมูลเชิงพื้นที่ ดังนี้
                             1) ข้อมูลเชิงอรรถาธิบาย ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สภาพภูมิประเทศ
                  สภาพภูมิอากาศ ทรัพยากรที่ดิน ทรัพยากรน้ํา ทรัพยากรป่าไม้ การใช้ประโยชน์ที่ดิน สภาพแวดล้อมที่

                  เหมาะสม วิธีการปลูกและดูแลรักษา สถิติพื้นที่เพาะปลูก สถิติผลผลิตและการค้า ต้นทุนการเพาะปลูก
                  ข้อมูลด้านการตลาดและการส่งออก การแปรรูปและการใช้ประโยชน์ผลิตภัณฑ์ รวมถึงนโยบายรัฐบาล
                  และแผนพัฒนาต่างๆ จากหน่วยงานราชการทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงองค์กรต่างๆ

                  ที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร สํานักงาน
                  คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรมการค้าภายใน กรมศุลกากร กรมการปกครอง
                  และกรมอุตุนิยมวิทยา เป็นต้น
                             2) ข้อมูลเชิงพื้นที่ ได้แก่ ข้อมูลที่แสดงในรูปแผนที่ต่างๆ เช่น แผนที่สภาพภูมิประเทศและ

                  ขอบเขตการปกครอง แผนที่หน่วยที่ดิน แผนที่สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน แผนที่ป่าสงวนแห่งชาติ แผนที่
                  อุทยานแห่งชาติ แผนที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และแผนที่เขตปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร เป็นต้น

                        1.4.2 การนําเข้าและวิเคราะห์ข้อมูล
                             การวิเคราะห์ข้อมูลเฉพาะแต่ละด้าน ได้มีการนําเข้าข้อมูลเชิงอรรถาธิบาย ข้อมูลเชิงพื้นที่
                  และข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ผ่านทางโปรแกรมสําเร็จรูปต่างๆ โดยมีการดําเนินงานตามลําดับ

                  ขั้นตอน ดังนี้








                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจสับปะรดโรงงาน                          กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13