Page 7 - pineapple
P. 7

บทที่ 1

                                                         บทนํา



                  1.1  หลักการและเหตุผล
                        สภาวะเศรษฐกิจของโลกปัจจุบันเป็นไปในลักษณะของการแข่งขัน รวมทั้งการผลิตทางด้าน
                  เกษตรกรรม ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อเกษตรกร ดังนั้นรัฐบาลจึงมีนโยบายสนับสนุนการเตรียมพร้อม

                  เพื่อเพิ่มศักยภาพสินค้าเกษตรมุ่งสู่มาตรฐานสากล กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานที่มี
                  ภารกิจสําคัญในการพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน มีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับในระดับ
                  สากล ภายใต้ยุทธศาสตร์หลักของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ การปรับโครงสร้างสินค้าเกษตรเป็น

                  ยุทธศาสตร์หนึ่งที่มีเป้าหมายที่จะพัฒนาการเกษตร ตั้งแต่การผลิต การแปรรูป และการตลาดแบบครบ
                  วงจร สําหรับด้านการผลิต ปัจจัยการผลิตที่สําคัญเบื้องต้น ได้แก่ ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดินเป็นหน่วยงาน
                  หลักมีหน้าที่รับผิดชอบในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทรัพยากรดินโดยการฟื้นฟูปรับปรุงบํารุงดินให้มี
                  ความอุดมสมบรูณ์และมีศักยภาพในการผลิต ตลอดจนมีการกําหนดเขตการใช้ที่ดิน การอนุรักษ์ดินและ
                  น้ําเพื่อให้มีการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสมและยั่งยืน

                        สับปะรดเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสําคัญชนิดหนึ่ง ซึ่งสร้างรายได้ให้ประเทศประมาณปีละ
                  23,000-25,000 ล้านบาท โดยมีผลิตภัณฑ์ส่งออกที่สําคัญ ได้แก่ สับปะรดกระป๋องและน้ําสับปะรด คิด
                  เป็นร้อยละ 45 ของมูลค่าการส่งออก ผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูป โดยไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกสับปะรด

                  กระป๋องเป็นอันดับ 1 ของโลก มีส่วนแบ่งการตลาด ประมาณร้อยละ 50 ซึ่งตลาดส่งออกสําคัญ ได้แก่
                  สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และตะวันออกกลาง นอกจากนี้ อุตสาหกรรมสับปะรดยังมี
                  ความสําคัญต่อเศรษฐกิจ ทั้งในระดับมหภาค และระดับไร่นา กล่าวคือในระดับมหภาคเป็นอุตสาหกรรม
                  เกษตรที่สร้างมูลค่าเพิ่มจากการใช้วัตถุดิบภายในประเทศ รวมทั้งเป็นอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการจ้าง

                  แรงงานเป็นจํานวนมาก เนื่องจากกระบวนการผลิตหลายขั้นตอนไม่สามารถใช้เครื่องจักรแทนแรงงานได้
                  สําหรับในระดับไร่นานั้น อุตสาหกรรมสับปะรดมีส่วนสําคัญในการเสริมสร้างรายได้ให้ภาคการเกษตร
                  โดยเป็นอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงภาคการผลิตด้านการเกษตรกับภาคอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม
                  เป็นแหล่งรองรับผลผลิตของเกษตรกรปีละ 1.80-2.00 ล้านตัน ของผลผลิตทั้งหมด (ผลผลิตที่เหลือ

                  ประมาณร้อยละ 20 ใช้ในรูปสับปะรดบริโภคสดภายในประเทศ และส่งออก) ดังนั้น การพัฒนา
                  อุตสาหกรรมสับปะรดแบบครบวงจร จึงทําให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเป็น
                  อย่างมาก โดยปัจจุบันมีโรงงานแปรรูปสับปะรดจํานวน 135 โรงงาน
                        จากเหตุผลดังกล่าว จึงได้จัดทําเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจสับปะรดโรงงาน ขึ้นเพื่อใช้เป็น

                  ฐานข้อมูลหนึ่งในการบริหารจัดการที่เหมาะสม รวมไปถึงอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการ
                  กําหนดบริเวณการใช้ที่ดินได้ให้ความสําคัญกับลักษณะทางกายภาพ เศรษฐกิจและสังคม และมีความ
                  สอดคล้องตามยุทธศาสตร์สับปะรดปี 2560 – 2569 ด้านการผลิตดําเนินการส่งเสริมการผลิตตามพื้นที่
                  Agri-Map แบ่งเป็น กลุ่มที่ 1 อยู่ในรัศมีรอบกลุ่มโรงงานฯ 100 กิโลเมตร เป็นพื้นที่ส่งเสริมการปลูก

                  สับปะรดเพื่อส่งเข้าโรงงานแปรรูป กลุ่มที่ 2 กลุ่มที่มีการปลูกสับปะรดโรงงานแต่อยู่ห่างไกลจากที่ตั้งของ
                  โรงงานแปรรูปสับปะรด เป็นพื้นที่ส่งเสริมการปลูกสับปะรดเพื่อเน้นการบริโภคผลสด เน้นการลดพื้นที่







                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจสับปะรดโรงงาน                        กองนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12