Page 84 - oil palm
P. 84

2-28





                       เปนกลุมชุดดินที่เกิดจากการสลายตัวผุพังอยูกับที่หรือจากการสลายตัวผุพังแลวถูก

                  เคลื่อนยายมาทับถม  ของพวกวัสดุเนื้อหยาบ  หรือจากวัตถุตนกําเนิดดินพวกตะกอนลําน้ําหรือวัตถุน้ํา

                  พาจากบริเวณที่สูง  วางทับอยูบนชั้นดินรวนหยาบหรือรวนละเอียด  พบในบริเวณพื้นที่ดอน  ที่มีสภาพ
                  พื้นที่ราบเรียบหรือคอนขางราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนชัน เปนดินลึกมาก  การระบายน้ําดีถึงดีปานกลาง

                  ความอุดมสมบูรณต่ําเนื้อดินชวงความลึก 50 - 100 เซนติเมตร  เปนดินทรายหรือดินทรายปนดินรวน

                  สวนชั้นดินถัดลงไปเปนดินรวนปนทรายและดินรวนเหนียวปนทราย สีดินเปนสีน้ําตาลออนหรือสีเหลือง

                  ปนสีน้ําตาล พบจุดประสีตางๆ  ในดินชั้นลาง  ปฏิกิริยาดินบนเปนกรดจัดถึงกรดเล็กนอย ปฏิกิริยาดินลาง
                  เปนกรดปานกลางถึงเปนกลาง

                        กลุมชุดดินนี้ประกอบดวย หนวยที่ดินที่ 41 และ 41B

                       ปญหาในการใชที่ดินดานเกษตรกรรม  ไดแก  ดินมีความอุดมสมบูรณต่ํามาก  เนื้อดินบน

                  เปนทรายจัด  พืชที่ปลูกมีโอกาสเสี่ยงตอการขาดแคลนน้ําไดงาย  แตถามีฝนตกมากดินชั้นบนจะแฉะ
                  และอาจเปนอันตรายตอพืชที่ปลูกบางชนิด บริเวณที่มีความลาดชันสูงจะเกิดการชะลางพังทลายไดงาย

                       แนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มผลผลิต พื้นที่ที่มีปริมาณน้ําฝนเพียงพอแนะนําใหรองกนหลุม

                  ดวยปุยหมักหรือปุยคอก 25-50  กิโลกรัมตอหลุม  และปุยหินฟอสเฟตรองกนหลุม  ประมาณ 0.25
                  กิโลกรัมตอหลุม คลุกเคลากับดินทิ้งไวประมาณ 15 วัน กอนปลูกพืช ปรับปรุงบํารุงดิน และใสคีเซอรไรต

                  1.30 กิโลกรัมตอตน ชวงตนและปลายฤดูฝน และโบเรต 0.10 กิโลกรัมตอตน ชวงตนฤดูฝน มีระบบ

                  อนุรักษดินและน้ําในพื้นที่ที่มีความลาดชัน เชน ปลูกพืชคลุมดิน รวมกับการทําขั้นบันได ถาปริมาณ

                  น้ําฝนไมเพียงพอ ตองสรางแหลงน้ําและจัดระบบการใหน้ําในแปลงปลูก ใชปุยสูตร 18-46-0  อัตรา
                  0.91 กิโลกรัมตอตน รวมกับปุยสูตร 46-0-0 อัตรา 2.69 กิโลกรัมตอตน และปุยสูตร 0-0-60 อัตรา 1.17

                  กิโลกรัมตอตน หรือใชปุยสูตร 25-10-10 อัตรา 7.00 กิโลกรัมตอตน สําหรับภาคใต สวนภาคตะวันออก

                  และพื้นที่อื่นๆ ใชปุยสูตร 23-6-23 อัตรา 7.00 กิโลกรัมตอตน ผสมคลุกเคลาใหเขากันแลวหวานรอบ
                  โคนตนหางจากโคนตนประมาณ 30 เซนติเมตร

                    41)   กลุมชุดดินที่ 42

                       เปนกลุมชุดดินที่พบบริเวณหาดทรายเกาหรือสันทรายชายทะเลเกิดจากตะกอนทราย

                  ชายทะเลพบบนพื้นที่ดอน ที่มีสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือคอนขางราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กนอย
                  เปนดินลึกปานกลางถึงชั้นดานอินทรีย  มีการระบายน้ําดีปานกลาง  เนื้อดินเปนทรายจัดสีดินบนเปน

                  สีเทาแก  ใตลงไปเปนชั้นทรายสีขาวและดินลาง  ระหวางความลึก 50 - 100 เซนติเมตร เปนชั้นที่มีการ

                  สะสมของพวกอินทรียวัตถุ  เหล็กหรือฮิวมัส  สีน้ําตาล  สีแดง  ชั้นเหลานี้มีการเชื่อมตัวกันแนนแข็งเปน
                  ชั้นดานอินทรียมีความอุดมสมบูรณตามธรรมชาติต่ํา ปฏิกิริยาดินเปนกรดจัดมากถึงกรดปานกลาง

                       กลุมชุดดินนี้ประกอบดวย หนวยที่ดินที่ 42 และ 42B
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89