Page 16 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะเขือเทศ
P. 16

1-2









                  1.2  วัตถุประสงค

                        เพื่อกําหนดบริเวณการใชที่ดินที่เหมาะสมทั้งทางดานกายภาพ เศรษฐกิจและสังคม ของ
                  พืชเศรษฐกิจมะเขือเทศ

                  1.3   ขั้นตอนและวิธีการดําเนินการ

                        1.3.1  การรวบรวมขอมูลทั่วไป
                            ขอมูลที่นํามาใชเปนฐานในการศึกษาและวิเคราะห มีทั้งขอมูลเชิงอรรถาธิบาย และ
                  ขอมูลเชิงพื้นที่ดังนี้
                            1) ขอมูลเชิงอรรถาธิบาย ไดแก ขอมูลดานทรัพยากรตางๆ ที่เกี่ยวของ คือ สภาพภูมิอากาศ

                  ทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรปาไม สภาพการใชที่ดิน ตลอดจนนโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวของ
                  และโครงสรางพื้นฐานอื่นๆ
                            2) ขอมูลเชิงพื้นที่ ไดแก ขอมูลแผนที่สภาพภูมิประเทศ และขอบเขตการปกครอง แผนที่
                  กลุมชุดดิน แผนที่การใชที่ดิน เปนตน

                        1.3.2  การรวบรวมขอมูลทางดานเศรษฐกิจและสังคม
                              ทําการรวบรวมขอมูลจากกลุมเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน และขอมูล
                  จากหนวยงานตางๆ ที่เกี่ยวของ ไดแก กรมการคาภายใน กรมวิชาการเกษตร กรมสงเสริมการเกษตร

                  สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
                        1.3.3  การนําเขาและวิเคราะหขอมูล
                            การนําเขาและวิเคราะหขอมูลทั้งขอมูลเชิงพื้นที่และขอมูลเชิงอรรถาธิบาย โดยทําการเก็บและ
                  วิเคราะหขอมูลดวยระบบคอมพิวเตอร โดยใชโปรแกรมสําเร็จรูปและโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร
                            การวิเคราะหขอมูลจะทําการวิเคราะหขอมูลเฉพาะดานตางๆ แลวจึงนําขอมูลดานตางๆ

                  ไปวิเคราะหรวมเพื่อกําหนดเขตการใชที่ดิน โดยมีการวิเคราะหขอมูลเฉพาะดาน ดังนี้
                            1) การประเมินความเหมาะสมของที่ดินกับการปลูกพืชเศรษฐกิจมะเขือเทศจากรายงาน
                  ความเหมาะสมของพืชเศรษฐกิจ โดยศึกษารวมกับการใชที่ดินและการจัดการพื้นที่

                            2) การวิเคราะหขอมูลดานเศรษฐกิจ
                                การวิเคราะหขอมูลเพื่อประเมินผลตอบแทนทางดานเศรษฐกิจ ไดนําวิธีการจากระบบของ
                  FAO Framework (1983) มาประยุกตใชรวมกับหลักการทางสถิติทําการวิเคราะหขอมูลผลผลิตมะเขือเทศ
                  ปการผลิต 2562 เพื่อคำนวณตนทุนผันแปร ตนทุนคงที่ รายได (มูลคาผลผลิต) ผลตอบแทนเหนือตนทุนเงินสด

                  ผลตอบแทนเหนือตนทุนผันแปร ผลตอบแทนเหนือตนทุนทั้งหมด มูลคาปจจุบันของตนทุน มูลคาปจจุบัน
                  ของรายได และมูลคาปจจุบันของผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ยตอป ตลอดจนระยะเวลาคืนทุนของการผลิต
                  มะเขือเทศที่เกษตรกรทำการผลิตอยูในปจจุบัน ซึ่งผลตอบแทนจะสรุปออกมาในรูปของมูลคาบาทตอไร
                             3) วิเคราะหพื้นที่เปาหมายในการผลิตใหสอดคลองกับนโยบายและยุทธศาสตรของ
                  กระทรวงเกษตรและสหกรณ










                  เขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจมะเขือเทศ                           กองนโยบายและแผนการใชที่ดิน
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21