Page 15 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะเขือเทศ
P. 15

บทที่ 1

                                                         บทนํา


                  1.1  หลักการและเหตุผล

                          มะเขือเทศ (ชื่อวิทยาศาสตร: Lycopersicon esculentum Mill.) เปนพืชตระกูลพริก (Solanaceae)

                  ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยมะเขือเทศสงโรงงานอุตสาหกรรม และมะเขือเทศ
                  รับประทานผลสด มีผูนิยมบริโภคกันแพรหลายทั้งในรูปผลสดและผลิตภัณฑแปรรูปตางๆ เชน ซอสมะเขือเทศ
                  น้ำมะเขือเทศ มะเขือเทศตองการสภาพอากาศคอนขางเย็น แตถาอุณหภูมิกลางคืนสูงกวา 22 องศาเซลเซียส
                  จะทำใหมะเขือเทศไมติดผลหรือติดผลไดนอย ปลูกไดในดินแทบทุกชนิด แตดินที่เหมาะสมที่สุดคือดินรวน
                  ที่มีอินทรียวัตถุสูงและระบายน้ำไดดีนั้นตองมี pH ประมาณ 6-6.8 มีความชื้นในดินพอเหมาะ น้ำไมขังแฉะ

                  และตองการแสงแดดเต็มที่ตลอดทั้งวัน สำหรับมะเขือเทศที่ปลูกในประเทศไทยมี 2 ชนิดคือ ที่ใช
                  รับประทานสด มีทั้งแบบผลเล็กและผลโต แบบผลเล็กนิยมที่มีสีชมพูมากกวาสีแดง แบบผลโตมักมีผลทรง
                  กลมคลายแอปเปลผลสีเขียวมีไหลเขียว เมื่อสุกจะสีแดงจัดเนื้อหนาแข็ง เปลือกไมเหนียว มีจำนวนชอง

                  ในผลมากและไมกลวง และชนิดสงโรงงานซึ่งจะเปนพันธุที่สุกพรอมกันเปนสวนใหญ ขั้วผลสุกมีสีแดงจัด
                  ตลอดผล ไสกลางผลสั้นเล็ก และไมแข็ง ผลจะแนน แข็ง เปลือกหนาและเหนียว มะเขือเทศจึงเปนพืชที่
                  สามารถเพิ่มศักยภาพการผลิตเพื่อแปรรูปเปนผลิตภัณฑตางๆ ไดหากโรงงานมีความตองการดานการ
                  สงออกมากขึ้น

                          จากขอมูลสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร พบวา แนวโนมการผลิตมะเขือเทศมีแนวโนมลดลง
                  เมื่อนำขอมูลมาเปรียบเทียบตั้งแตป 2559 มีเนื้อที่เพาะปลูกมะเขือเทศ 21,823 ไร ป 2560 มีเนื้อที่
                  เพาะปลูกมะเขือเทศ 22,313 ไร  ป 2561 มีเนื้อที่เพาะปลูกมะเขือเทศ 20,888 ไร ซึ่งจะเห็นไดวาพื้นที่
                  การปลูกมะเขือเทศมีจำนวนลดลง

                          นอกจากนี้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรยังสำรวจขอมูลสภาวการณการผลิตมะเขือเทศในป
                  2561 แบงเปนรายภาคทั้งสิ้น 2 ภาค และรายจังหวัด 13 จังหวัด แบงรายละเอียดไดดังนี้ ภาคเหนือ
                  มีเนื้อที่ปลูก 8,352 ไร จังหวัดที่ปลูกมากที่สุด 6 จังหวัด ไดแก เชียงราย พะเยา ลำปาง เชียงใหม
                  แมฮองสอน และตาก  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเนื้อที่ปลูก 12,536 ไร จังหวัดที่ปลูกมากที่สุด 7 จังหวัด ไดแก

                  อุดรธานี  หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม รอยเอ็ด และกาฬสินธุ สำหรับภาคกลางและภาคใต
                  นิยมปลูกมะเขือเทศบริโภคสด ดังนั้นจะเห็นไดวามะเขือเทศพบมากในภาคที่มีที่ตั้งของโรงงานที่รับซื้อและผลิต
                  มะเขือเทศแปรรูปนั่นเอง

                          กรมพัฒนาที่ดินจึงเห็นวาควรมีการจัดทำเขตการใชที่ดินใหเหมาะสมกับการปลูกพืชเศรษฐกิจ
                  มะเขือเทศ เพื่อใหมีการสงเสริมที่เหมาะสม กับการสงออกที่ทันตอการเก็บเกี่ยว เพราะผลผลิตมะเขือเทศ
                  เปนพืชที่ไมทนตอสภาพภูมิอากาศที่สูงเกินไป การขนสงอยูในระยะเวลาสั้น หากเกษตรกร หรือเจาหนาที่รัฐ
                  มีแนวโนมในการขยายพื้นที่ รัฐตองใหการสนับสนุนในเชิงนโยบาย และการพัฒนาพื้นที่ตามแนวทาง
                  และขอเสนอแนะที่ทางกรมพัฒนาที่ดินไดวิเคราะหศักยภาพและโอกาสพรอมจัดทำเขตการใชที่ดินใหมี

                  ความสมบูรณและเหมาะสมตอการพัฒนาการเกษตรตอไป







                  เขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจมะเขือเทศ                           กองนโยบายและแผนการใชที่ดิน
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20