Page 121 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะเขือเทศ
P. 121

บทที่ 3

                                       การวิเคราะหเพื่อกำหนดเขตการใชที่ดิน



                  3.1  การประเมินคุณภาพที่ดินดานกายภาพ
                        การประเมินคุณภาพที่ดิน (Qualitative Land Evaluations) เปนการพิจารณาศักยภาพของ

                  หนวยทรัพยากรที่ดินตอการใชประโยชนที่ดินประเภทตางๆ ในระดับการจัดการที่แตกตางกัน วิธีการ
                  ประเมินคุณภาพที่ดินมีหลายวิธี สวนวางแผนทรัพยากรน้ำเพื่อการพัฒนาที่ดินไดเลือกใชวิธีการประเมิน
                  คุณภาพที่ดินในหลักการของ FAO Framework (1983) สามารถทำได 2 รูปแบบ

                        รูปแบบแรก การประเมินทางดานคุณภาพหรือเรียกอีกอยางหนึ่งวา เปนการประเมินเชิงกายภาพ
                  วาที่ดินนั้นๆ เหมาะสมสูงหรือนอยเพียงใดตอการใชประโยชนที่ดินประเภทตางๆ
                        รูปแบบที่สอง การประเมินทางดานปริมาณหรือดานเศรษฐกิจ ซึ่งจะใหคาตอบแทนในรูปผลผลิต
                  ที่ไดรับ จำนวนเงินในการลงทุนและจำนวนเงินจากผลตอบแทนที่ไดรับ
                        3.1.1 ระดับความตองการปจจัยสำหรับพืชเศรษฐกิจมะเขือเทศ

                            จากการศึกษาและรวบรวมขอมูลเกี่ยวกับพืชที่มีปลูกในพื้นที่ตางๆ พบวา พืชมีความตองการ
                  ปจจัยและสิ่งแวดลอมที่แตกตางกัน นอกจากความตองการดานพืชแลว เกษตรกรแตละคนยังใช

                  เครื่องจักร สารเคมี แรงงาน เทคโนโลยีหรือเงินทุนที่แตกตางกัน รวมถึงการปรับพื้นที่เพื่อใหมะเขือเทศ
                  สามารถเจริญเติบโตไดโดยไมเกิดปญหาการแชขังของน้ำ ดังนั้น ปจจัยที่มีผลตอการเจริญตอพืชสามารถ
                  แบงได 3 กลุม ไดแก
                            1) ความตองการดานพืช (Crop Requirements) ประกอบดวยความเขมของแสง อุณหภูมิ
                  ปริมาณน้ำฝนหรือความตองการน้ำในชวงการเจริญเติบโต การระบายน้ำที่เหมาะสม ปริมาณธาตุอาหารพืชในดิน

                  ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวก ความอิ่มตัวดวยดาง
                            2) ความตองการดานการจัดการ (Management Requirements) เนื่องจากพืชแตละชนิด
                  เหมาะสมในสภาพพื้นที่ที่แตกตางกัน เชน มะเขือเทศสามารถเจริญเติบโตไดดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณต่ำ

                  ดังนั้น การจัดการโดยใสปุยจึงมีนอย รวมถึงสามารถพบเห็นเกษตรกรปลูกมะเขือเทศในดินทรายดวย
                            3) ความตองการดานการอนุรักษ (Conservation Requirements) เปนปจจัยที่มีผล
                  ตอการเจริญของพืชในพื้นที่สูง ซึ่งมีโอกาสที่ดินจะถูกกัดกรอนไดงายจากอิทธิพลของลมและน้ำ
                  สงผลใหเกิดการสูญเสียธาตุอาหารในดิน รวมถึงปริมาณตะกอนที่ไหลลงสูที่ลุมทำใหมีผลกระทบตอ

                  สภาพแวดลอมอีกทางหนึ่ง
                             นอกจากปจจัยที่มีผลตอการเจริญเติบโตของพืชในแตละดานที่แตกตางกันแลว ดินในแตละ
                  พื้นที่ยังมีผลตอการเจริญเติบโตของพืชแตกตางกัน ทั้งนี้ขึ้นอยูกับสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศที่ทำให
                  คุณลักษณะดินแตกตางกันไปตามวัตถุตนกำเนิดของดิน ดังนั้น ดินที่แตกตางกันจะมีคุณลักษณะของดิน

                  ที่แตกตางกันสงผลตอการเจริญเติบโตของพืชที่แตกตางกันแตคุณลักษณะที่ดินที่ใชในการแสดงคาเพื่อชี้บง
                  ความเจริญเติบโตของพืชบางกรณีมีปจจัยเดนเพียงตัวเดียว เชน การระบายน้ำของดิน บางกรณีอาจมีปจจัยเดน
                  ไดหลายตัว เชน ความจุในการดูดยึดธาตุอาหารสามารถแสดงไดจากคาของความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวก
                  (C.E.C) และคาความอิ่มตัวของประจุบวกที่เปนดาง (B.S) ปจจัยเดนหลายตัวนั้นอาจสงผลกระทบซึ่งกันและกัน







                  เขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจมะเขือเทศ                             กองนโยบายและแผนการใชที่ดิน
   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126